วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

ปลากัด

ปลากัด ปลากัด หรือ ปลากัดภาคกลาง (อังกฤษ: Siamese fighting fish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Betta splendens) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae มีรูปร่างเพรียวยาวและแบนข้าง หัวมีขนาดเล็ก ครีบก้นยาวจรดครีบหาง หางแบนกลม มีอวัยวะช่วยหายใจบนผิวน้ำได้โดยใช้ปากฮุบอากาศโดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป เกล็ดสากเป็นแบบทีนอยด์ ปกคลุมจนถึงหัว ริมฝีปากหนา ตาโต ครีบอกคู่แรกยาวใช้สำหรับสัมผัส ปลาตัวผู้มีสีน้ำตาลเหลือบแดงและน้ำเงินหรือเขียว ครีบสีแดงและมีแถบสีเหลืองประ ในขณะที่ปลาตัวเมียสีจะซีดอ่อนและมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่ามากจนเห็นได้ชัด ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 6 เซนติเมตร พบกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำนิ่งที่มีขนาดตื้นพื้นที่เล็กทั้งในภาคกลางและภาคเหนือในประเทศไทยเท่านั้น สถานะปัจจุบันในธรรมชาติถูกคุกคามจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปและสารเคมีที่ตกค้าง มีพฤติกรรมชอบอยู่ตัวเดียวในอาณาบริเวณแคบ ๆ เพราะดุร้ายก้าวร้าวมากในปลาชนิดเดียวกัน ตัวผู้เมื่อพบกันจะพองตัว พองเหงือก เบ่งสีเข้ากัดกัน ซึ่งในบางครั้งอาจกัดได้จนถึงตาย เมื่อผสมพันธุ์ ตัวผู้จะเป็นฝ่ายก่อหวอดติดกับวัสดุต่าง ๆ เหนือผิวน้ำ ไข่ใช้เวลาฟัก 2 วัน โดยที่ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลไข่และตัวอ่อนเอง โดยไม่ให้ปลาตัวเมียเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ปลากัด เป็นปลาที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดีมาแต่โบราณ โดยปลากัดสายพันธุ์ดั้งเดิมจากธรรมชาติมักเรียกติดปากว่า "ปลากัดทุ่ง" หรือ "ปลากัดลูกทุ่ง" หรือ "ปลากัดป่า" จากพฤติกรรมที่ชอบกัดกันเองแบบนี้ ทำให้นิยมนำมาเลี้ยงใช้สำหรับกัดต่อสู้กันเป็นการพนันชนิดหนึ่งของคนไทย และได้มีการพัฒนาสายพันธุ์และความสามารถในชั้นเชิงการกัดจนถึงปัจจุบัน จนเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของประเทศไทยและเป็นที่รับรู้ของชาวต่างชาติในชื่อ "Siamese fighting fish" ในปัจจุบัน ปลากัดภาคกลางได้ถูกพัฒนาสายพันธุ์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น มีสีสันที่สวยงามและหลากหลายขึ้น เรียกว่า "ปลากัดหม้อ" นิยมเลี้ยงในภาชนะขนาดเล็กและแคบ เช่น ขวดโหล ขวดน้ำอัดลม เป็นต้น อีกทั้งยังได้พัฒนาสายพันธุ์ในแง่ของความเป็นปลาสวยงามอีกหลายสายพันธุ์ เช่น ปลากัดจีน ที่มีเครื่องครีบยาว ปลากัดแฟนซี ที่มีสีสันหลากหลายสวยงาม ปลากัดคราวน์เทล หรือ ปลากัดฮาร์ฟมูน เป็นต้น

ปลาเสือดำ

ปลาเสือดำ ปลาเสือดำ หรือ ปลากะพงเล็ก (ชื่อท้องถิ่นจันทบุรี)[1] ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nandus nebulosus อยู่ในวงศ์ปลาหมอช้างเหยียบ (Nandidae) มีรูปร่างคล้ายปลาดุมชี (N. oxyrhynchus) ซึ่งอยู่ในวงศ์และสกุลเดียวกัน แต่มีจงอยปากสั้นกว่าปลาดุมชี มีลำตัวแบนข้าง หัวและตาโต ปากมน บนฝาปิดเหงือกมีหนามชิ้นเล็ก ๆ 1 ชิ้น ลำตัวสีน้ำตาลแดง มีลายบั้งและประสีคล้ำพาดขวาง 5-6 บั้ง มีแถบยาวสีดำจากปลายปากจนถึงท้ายทอย ครีบหลังตอนแรกสีเหมือนลำตัว ตอนหลังใส ครีบอกใส มีขนาดประมาณ 6 เซนติเมตร-10 เซนติเมตร มีพฤติกรรมชอบซ่อนตัวอยู่นิ่ง ๆ ใต้กองไม้หรือใบไม้ใต้น้ำ เพื่อล่าเหยื่อซึ่งเป็นซึ่งมีชีวิตเล็ก ๆ กินเป็นอาหาร ปลาเสือดำพบได้ในบริเวณภาคตะวันออกของประเทศ และป่าพรุในภาคใต้ มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "นางคง" หรือ "ดุมชี" ในวงการปลาสวยงามนิยมเรียกว่า "เสือลายเมฆ"[2]

เสือดาวหิมะ

เสือดาวหิมะ เสือดาวหิมะ (อังกฤษ: Snow leopard) สัตว์ในวงศ์ Felidae ชนิดหนึ่ง ที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์แล้ว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Uncia uncia นับเป็นสัตว์ชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Uncia มีขนยาวหนาแน่น สีพื้นเทาอมเหลือง บริเวณสีข้างจะอมเหลืองจาง ๆ มีลายดอกเข้มทั่วตัวคล้ายเสือดาว (Panthera pardus) ช่วยให้ดูกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมที่อาศัยซึ่งเป็นภูเขาหินและหิมะปกคลุม ลายดอกบริเวณหลังและสีข้างมีขนาดใหญ่ ส่วนบริเวณหัวและขาเป็นลายจุดขนาดเล็ก บริเวณคาง อก และท้องเป็นสีขาวปลอดไม่มีลาย ลายบริเวณหลังและสีข้างจะจางกว่าบริเวณอื่นซึ่งต่างจากเสือลายจุดชนิดอื่นที่มักมีลายที่หลังเข้มกว่า หางด้านบนจะเป็นวงสีดำ ด้านล่างของหางเป็นจุดจาง ๆ เปรียบเทียบลายดอกของเสือดาวหิมะกับของเสือดาวแล้ว ดอกของเสือดาวหิมจะห่างกันมากกว่า และไม่คมชัดเท่า มีกล้ามเนื้อหน้าอกและหัวไหล่ที่แข็งแรง อุ้งเท้ากว้างแข็งแรงและปกคลุมด้วยขน ช่วยให้เพิ่มพื้นที่ผิวและกระจายน้ำหนักตัวลงบนหิมะได้อย่างสม่ำเสมอ และช่วยปกป้องอุ้งเท้าจากความเย็นของหิมะได้ดี มีโพรงจมูกใหญ่ มีความยาวลำตัวและหัว 90-135 เซนติเมตร ความยาวหาง 90 เซนติเมตร ความสูงถึงหัวไหล่ 60 เซนติเมตร น้ำหนักในตัวผู้ 44-55 กิโลกรัม ตัวเมีย 35-40 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางบนภูเขาสูงที่มีหิมะปกคลุมในภูมิภาคเอเชียกลาง เช่น มองโกเลีย, ภูฐาน, ทิเบต, จีน, อัฟกานิสถาน, รัสเซีย, อินเดีย, เนปาล โดยพบที่ทิเบตและจีนมากที่สุด มีสายพันธุ์ย่อยทั้งหมด 2 สายพันธุ์ คือ U. u. uncia พบในมองโกเลียและรัสเซีย และ U. u. uncioides พบในจีนและเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งที่อยู่ของทั้ง 2 ชนิดนี้ไม่เชื่อมต่อติดกัน มีพฤติกรรมและชีววิทยาเป็นสัตว์ที่มีนิสัยขี้อาย มักหลบเมื่อพบกับมนุษย์ สามารถกระโดดได้ไกลถึง 15 เมตร มีรายงานนอนกลางวันชอบหลบไปนอนในรังของแร้งดำหิมาลัย (Aegypius monachus) โดยการกระโดดขึ้นไปเลยไม่ใช้การปีน ออกล่าเหยื่อในเวลาเย็นหรือเช้าตรู่ โดยล่าสัตว์ทุกขนาดทั้งสัตว์ใหญ่สัตว์เล็ก โดยปกติแล้วจะล่าเหยื่อและอยู่ตามลำพัง ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์ ที่อาจอยู่เป็นคู่ เมื่อล่าเหยื่อได้แล้วอาจจะกินไม่หมดในครั้งเดียว อาจใช้เวลานานถึง 3-4 วันกว่าเหยื่อจะหมด นานที่สุดคือ 1 สัปดาห์ เสือดาวหิมะมักอยู่ในพื้นที่เล็ก ๆ ในระยะเวลาประมาณ 7-10 วัน ก่อนที่จะเดินทางไกลไปอีกที่หนึ่ง ระยะทางที่เดินทางวันหนึ่งเฉลี่ยราว 1 กิโลเมตรสำหรับตัวผู้และ 1.3 กิโลเมตรสำหรับตัวเมีย บางครั้งอาจเดินทางได้ไกลถึงวันละ 7 กิโลเมตร ในอดีตมีการล่าเสือดาวหิมะเพื่อทำเป็นเสื้อขนสัตว์ โดยมีราคาซื้อขายสูงถึงตัวละ 50,000 ดอลลาร์ และมีการล่าถึงปีละ 1,000 ตัว จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1952 ทางรัฐบาลอินเดียจึงได้ออกกฎหมายคุ้มครองขึ้นมา แต่ปัจจุบันก็ยังมีการลักลอบในพื้นที่ต่าง ๆ เช่นกัน ปัจจุบัน คาดการว่ามีปริมาณเสือดาวหิมะเหลืออยู่ในธรรมชาติประมาณ 4,000 ตัว[1]

เสือดาว

เสือดาว เสือดาว หรือ เสือดำ (อังกฤษ: Leopard, Panther) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จัดอยู่ในวงศ์ฟิลิดี (Felidae) เป็นสัตว์กินเนื้อที่มีขนาดใหญ่รองจากเสือโคร่ง (Panthera tigris) ลำตัวสีน้ำตาลอมเหลืองหรือมีสีเหลือง มีลายจุดสีดำแต้มบริเวณลำตัวเป็นจำนวนมากโดยลายจุดจะเรียงตัวกันเป็นกลุ่ม ๆ โดยจะปรากฏเฉพาะที่บริเวณด้านหลังและด้านข้างของลำตัว แตกต่างจากบริเวณส่วนหัว ขา เท้า บริเวณใต้ท้องที่จะมีจุดสีดำปรากฏอยู่เช่นเดียวกับขนใต้ท้องที่มีสีขาวหรือสีเทา ขนาดความยาวหัวถึงลำตัว 107-129 เซนติเมตร หางมีความยาว 79.2 - 99.1 เซนติเมตร ใบหูมีความยาว 6.5 - 7.4 เซนติเมตร และหนัก 45 - 65 กิโลกรัม เสือดาวและเสือดำ จัดอยู่ในเสือชนิดเดียวกัน ซึ่งส่วนมากโดยทั่วไปจะเข้าใจผิดว่า เสือดาว และ เสือดำ เป็นเสือคนละชนิด ซึ่งในการผสมพันธุ์ของเสือดาว ลูกเสือที่เกิดใหม่ในครอกเดียวกัน อาจมีลูกเสือได้ทั้งสองชนิดคือเสือดาวและเสือดำ โดยที่เสือดำจะมีสีขนปกคลุมร่างกายด้วยสีดำ ซึ่งมีลายจุดเช่นเดียวกับเสือดาว เพียงแต่กลมกลืนกับสีขนทำให้มองเห็นได้ไม่ชัด เสือดำมีชื่อเรียกได้หลายอย่างเช่น เสือลายตลับ เสือลายจ้ำหลอด ลักษณะทั่วไป ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในแอฟริกาและเอเชีย ตั้งแต่แมนจูเรียลงมาถึงอินโดจีน ไทย มาเลเซีย และชวา สำหรับประเทศไทยพบตามป่าทั่วไปแต่พบมากทางภาคใต้ กินสัตว์ป่าทุกชนิดที่จับได้ เช่น หมู กวาง ลิง นกยูง สุนัข และแมลง บางครั้งปู ปลาก็กิน เป็นสัตว์เลือดอุ่น มักอยู่อาศัยในป่าโปร่ง สามารถขึ้นล่าเหยื่อบนต้นไม้ หรือ ลากเหยื่อไปกิน บนต้นไม้เพื่อหลีกหนีจากศัตรูได้ ตามลำตัวมีลายจุดสีดำ

หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง

หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง
หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง เป็นพระเกจิดังเจ้าตำรับพระราหูอมจันทร์ เครื่องรางที่ให้คุณในด้านของโชคลาภ, การพ้นจากเคราะห์ต่างๆ เอ่ยถึง หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง ทุกคนก็จะนึกถึงราหูอมจันทร์เเละวัวธนู หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง “หลวงพ่อน้อย คันธโชโต“ เป็นพระเกจิดังเจ้าตำรับพระราหูอมจันทร์ เครื่องรางที่ให้คุณ ในด้านของโชคลาภ, การพ้นจากเคราะห์ต่างๆ และเสริมดวงชะตา ต้องยกให้กับพระราหูอมจันทร์ เนื้อกะลาตาเดียว แกะของหลวงพ่อน้อยวัดศรีษะทอง ต.ห้วยตะโก อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม หลวงพ่อน้อย เป็นพระเกจิอาจารย์เชื้อสายลาว ที่มีวิทยาคมแก่กล้ารูปหนึ่ง อัตโนประวัติ มีนามเดินว่า “น้อย นาวารัตน์” เกิดเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2435 ตรงกับวันแรม 13 ค่ำ ปีมะโรง ที่บ้านตำบลศรีษะทอง โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายมาและนางมี นาวารัตน์ หลวงพ่อน้อยมีพี่น้องทั้งหมด 5 คน เป็นบุตรคนสุดท้อง โยมบิดาของหลวงพ่อน้อย เป็นหมอรักษาโรคแบบแผนโบราณและเป็นหมอไสยศาสตร์ ที่เก่งกล้าทางอาคม ชาวบ้านเรียกกันว่า “พ่อหมอ” อยู่ยงคงกระพัน ขนาดเอามีดคมสับเนื้อหนังตัวเองให้ดูได้สบาย ไม่ระคายเคืองผิวหนัง เป็นที่เลื่อมใสของชาวลาวโดยทั่วไป ในสมัยที่หลวงพ่อน้อยยังอยู่ในเพศฆราวาส กล่าวกันว่า ท่านเป็นผู้ที่มีความขยันขันแข็งเป็นอันมาก ช่วยโยมมารดาทำนาปลูกผักอยู่เป็นประจำครั้นว่างจากงานก็ศึกษาอักขระเลขยันต์คาถาอาคมไสยศาสตร์ ตลอดจนตำรับยาจากโยมบิดาจนเจนจบ ครั้งเมื่อหลวงพ่อน้อย ท่านอายุได้ 21 ปี เป็นนิมิตหมายที่ดีในวันพฤหัสบดีขึ้น 12 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 14 เมษายน 2456 ท่านได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ในบวรพระพุทธศาสนาด้วยความศรัทธาอันแน่วแน่ที่มีอยู่เป็นนิสัย โดยมีพระอธิการยิ้ว เจ้าอาวาสวัดแค เป็นพระอุปัชฌาจารย์, พระอธิการเกิด วัดงิ้วราย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระภิกษุมุน วัดกลางคูเวียง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “คนธโชโต” หลวงพ่อน้อย ท่านได้อยู่จำพรรษาอยู่ที่วัดแคอยู่ระยะหนึ่งหลวงพ่อน้อย จึงได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดศรีษะทอง ในระยะนั้น หลวงพ่อลีเป็นเจ้าอาวาสอยู่และท่านก็ได้ศึกษาวิชาการต่างๆ ที่ได้สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยที่หลวงพ่อไตรเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีษะทอง เช่น วิชาการสร้างวัวธนูและราหูอมจันทร์ เป็นต้น เมื่อหลวงพ่อน้อยได้มีพรรษาที่สูงขึ้น พอดีกับพระอธิการช้อยซึ่งเป็นเจ้าอาวาส ได้ลาสิกขาไป บรรดาญาติโยมอุบาสก-อุบาสิกา จึงได้นิมนต์หลวงพ่อน้อยขึ้นเป็นเจ้าอาวาส ท่านได้ปฏิบัติตนตามสมควร ให้สมกับเจตนาของญาติโยมและพัฒนาวัดจนมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก ต่อมา ได้รับตำแหน่งเจ้าคณะตำบลปกครองวัดในเขตตำบลของท่านเป็นตำแหน่งสุดท้าย หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง ท่านได้สร้างพระเครื่องและเครื่องรางของขลังไว้หลายชนิด แต่ที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก คือ “พระราหูอมจันทร์” และ “พระโคสุลาภ” หรือวัวธนู โดยเฉพาะ พระราหูอมจันทร์ ซึ่งถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในชุดเบญจเครื่องรางและให้การยอมรับมาช้านาน พระราหูอมจันทร์ของวัดศรีษะทองมีลักษณะและวิธีการสืบมาจากหลวงพ่อไตร แต่ได้มีการสร้างมากที่สุดในสมัยหลวงพ่อน้อย เป็นการสร้างตามตำรับใบลานจานอักขระขอมลาวที่นำมาจากประเทศลาวโดยตรง ความเป็นมาของราหูอมจันทร์ ตามตำนานทางไสยศาสตร์ได้กล่าวไว้ว่า พระราหูเป็นยักษ์ดุร้าย น่ากลัว ผิวดำเป็นเงาวาวเหมือนนิล มีหางเป็นนาคราชและมีพญาครุฑเป็นพาหนะรับใช้ประจำสถิตพำนักอยู่ในอากาศแวดล้อมด้วยม่านสีดำ แต่เหตุที่ทำให้พระราหูมีเพียงองค์ครึ่งเดียวนั้น เนื่องจากพระราหู ต้องจักรของพระนารายณ์ตัดขาด เพราะว่าพระราหูแอบดื่มน้ำอมฤต ในขณะที่พระราหูดื่มน้ำอมฤตอยู่นั้น พระอาทิตย์และพระจันทร์ได้มาเห็นเข้า นำความไปฟ้องพระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงกริ้วเป็นเหตุให้ขว้างจักรไปต้องกายพระราหูขาดครึ่ง แต่พระราหูไม่ตาย เนื่องจากได้ดื่มน้ำอมฤตเข้าไป พระราหูจึงมีความแค้นเคืองต่อพระอาทิตย์และพระจันทร์ ที่คอยเสนอหน้าไปฟ้องพระนารายณ์จึงคอยเฝ้าจับพระอาทิตย์และพระจันทร์กินอยู่เสมอมา //

หลวงพ่อสุด วัดกาหลง

ตามประวัติของหลวงพ่อสุดแห่งวัดกาหลง จ.สมุทรสาคาเจ้าตำรับ ยันต์ตะกร้อ และ เสือเผ่น ท่านเป็นชาวอำเภอพนมไพร จ.ร้อยเอ็ด เกิดในตระกูลชาวนา ในสมัยราชกาลที่ 5 ท่านบวชเป็นสามเณรเมื่ออายุ 16 ปี ที่วัดกลางพนมไพร จ.ร้อยเอ็ด แล้วเดินทางรอนแรมจากร้อยเอ็ด ไปแสวงหาวิชา และ ความรู้ในทางธรรมตามที่ต่าง ๆ จนกระทั่งได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดกาหลง จนมรณภาพ เรื่องราวของหลวงพ่อสุดเกี่ยวกับพลังอำนาจจิต ที่อยู่ในรูปการสักยันต์ตะกร้อ และเสือแผ่นนั้น โด่งดังมากแม้แต่ “ตี๋ใหญ่” ขุนโจรชื่อดัง ที่เขาลือกันว่าหนังเหนียว และแคล้วคลาดอยู่ตลอดยังนับถือ ไปมาหาสู่หลวงพ่ออยู่บ่อยๆ “ตี๋ใหญ่” มีของดี คือ มีผ้ายันต์ กับ ตะกรุดของหลวงพ่อสุดไว้ป้องกันตัว ขนาดถูกตำรวจเป็นร้อยล้อมจับก็ยังหนีเอาตัวรอดไปได้ จนใคร ๆ ลือกันว่าตี๋ใหญ่มีวิชาล่องหนหายตัวได้! มีเรื่องเล่าถึงวันที่ “ตี๋ใหญ่” สิ้นชื่อ คือ วันนั้น ก่อนที่จะหนีไปหลบซ่อนตัว “ตี๋ใหญ่” ให้ลูกน้องขับรถพามาหาหลวงพ่อสุดที่วัดกาหลง แต่มาแล้วไม่พบหลวงพ่อ จึงกลับออกมา ระหว่างที่รถวิ่งออกมา ก็โดนถล่มจากเจ้าหน้าที่ทั้งสองข้างทาง นับไม่ถ้วนว่ากี่นัด จะเห็น ว่าคนเราเมื่อดวงขาด มันก็ต้องมีอันเป็นไป และเหตุที่ตี๋ใหญ่มาหาลวงพ่อสุดนั้น เป็นเพราะว่า พวงพระและตะกรุดของตี๋ใหญ่หายไป ก็เลยจะมาขอใหม่จากหลวงพ่อ จึงมาพบจุดจบในวันนั้น หลายคนกล่าวว่าถ้าผ้ายันต์ กับ ตะกรุดยังอยู่ ตี๋ใหญ่อาจจะยังไม่ตาย แต่ถึงอย่างไรตี๋ใหญ่ก็ก่อกรรมทำเข็ญไว้มาก พลังอำนาจจิตหรืออิทธิฤทธิ์ใดๆ ก็มาอยู่ “เหนือกรรม” ไม่ได้ สุดท้ายตี๋ใหญ่ก็ต้องจบชีวิตลง ท่ามกลางการสาปแช่งของผู้คน และใครจะรู้ว่านั้นเป็นสิ่งที่หลวงพ่อสุดกำหนดให้เป็นไปด้วยหรือไม่ ก็ ยังมีเรื่องเล่าถึง อดีตนาวิกโยธินคนหนึ่ง ที่ได้เครื่องรางของหลวงพ่อสุดไป เป็น เหรียญเสือเผ่น และ รอยสัก ขณะที่รับราชการอยู่ เขาถูกส่งไปปราบผู้ก่อการร้ายที่ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ.2519 แล้วโดนถล่ม ขณะอยู่บนรถยีเอ็มซี เพื่อนคนหนึ่งถูกยิงจนตาตุ่มหายไปทั้งแถบ ส่วนตัวเองถูกยิงห้านัด กระสุนเข้ากลางหลังตรงยันต์พอดี เสื้อทะลุเป็นรู แต่กระสุนกลับไม่เข้าเนื้อ และ ไม่มีบาดแผลเพียงแต่เป็นรอยจ้ำ ๆ เท่านั้น ส่วน อีกคนเป็นศิษย์หลวงพ่อสุดเหมือนกัน คนนี้เป็นโรคที่ตา ต้องเข้ารับการผ่าตัดที่โรงพยาบาลศิริราช ระหว่างการรักษาต้องฉีดยาเพื่อผ่าตัด เข้าใจว่าเป็นยาชา แต่พอฉีด เข็มฉีดยากลับไม่เข้าเนื้อ เพราะคนนี้หลวงพ่อสุดสักน้ำมันครอบไว้ ผลสุดท้าย ต้องมานิมนต์หลวงพ่อสุดไปโรงพยาบาล เพื่อทำพิธีถอน คนป่วยจึงได้รับการฉีดยา และ ผ่าตัดเรียบร้อย ปัจจุบันทางวัดกาหลง จ.สมุทรสาคร ได้นำร่างที่เป็นโครงกระดูกของ หลวงพ่อสุด บรรจุไว้ในโลงแก้ว ตั้งให้ประชาชนไปกราบนมัสการอยู่ที่ชั้นสอง ของศาลาการเปรียญภายในวัดซึ่งทุกวัน จะมีประชาชนและลูกศิษย์ที่เลื่อมใสแวะเวียนไปกราบเสรีระร่างของท่านไม่ขาดสาย

หลวงปู่ทวด

หลวงปู่ทวด หลวงปู่ทวด (หรือ สมเด็จเจ้าพะโคะ, หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด, สมเด็จเจ้าพระราชมุนีสามีรามคุณูปรมาจารย์) [1] เป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทยจากตำนานท้องถิ่นซึ่งยังไม่ปรากฏหลักฐานในทางประวัติศาสตร์ยืนยันความมีอยู่จริง ประวัติที่พิมพ์เผยแพร่กล่าวว่าท่านเป็นพระเกจิอาจารย์รูปสำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้ที่ศรัทธาในหลวงปู่ทวดเชื่อกันว่าพระเครื่องที่สร้างเนื่องด้วยท่านจะมีอานุภาพสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองผู้มีพระเครื่องหลวงปู่ทวดในครอบครอง ปัจจุบันหลวงปู่ทวดถือได้ว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ในตำนานที่มีผู้ศรัทธาจำนวนมาก รูปสำคัญ 1 ใน 2 มหาเกจิอาจารย์ของเมืองไทย คู่กับ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) (หลวงปู่โต) ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ตามตำนาน[2]กล่าวว่าหลวงปู่ทวด เป็นบุตรของนายหู นางจันทร์ ซึ่งเป็นทาสในเรือนเบี้ย (ทาสทำงานใช้หนี้) ของเศรษฐีปานเกิดในรัชกาลของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช เมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2125 ณ บ้านสวนจันทร์ (บ้านเลียบ) ต.ดีหลวง (ปัจจุบันเป็นตำบลชุมพล) อ.สทิงพระ(จะทิ้งพระ) จ.สงขลา แรกเกิดมีชื่อว่าปู ขณะท่านเกิดมีเหตุอัศจรรย์คือเกิดฟ้าร้องฟ้าผ่าแผ่นดินสะเทือนเลื่อนลั่น เสมือนหนึ่งว่ามีผู้มีบุญญาธิการมาเกิด เมื่อตัดรกจากสายสะดือแล้วนายหูบิดาของท่านก็นำรกของท่านไปฝังไว้ที่โคนต้นเลียบ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ต้นเลียบในปัจจุบัน เมื่อท่านเกิดมาแล้วก็มีเหตุอัศจรรย์เกิดขึ้นกับท่านเรื่อยมา เป็นต้นว่า ขณะที่ท่านอยู่ในวัยแบเบาะในช่วงฤดูเกี่ยวข้าวบิดามารดาของท่านต้องออกไปเกี่ยวข้าวที่กลางทุ่งนาซึ่งเป็นนาของเศรษฐีปาน ซึ่งท้องนาแห่งนั้นห่างจากบ้านประมาณ 2 กิโลเมตร ที่นาแห่งนั้นมีดงตาลและมะเม่าเป็นจำนวนมากครั้งนั้นจึงเรียกว่าทุ่งเม่า ปัจจุบันตั้งเป็นสำนักสงฆ์ชื่อนาเปล ในสมัยนั้นจึงมีสัตว์ป่าชุกชุมพอสมควร บิดามารดาของท่านจึงผูกเปลของท่านซึ่งเป็นเปลผ้าไว้กับต้นมะเม่าสองต้นและก็ได้เกี่ยวข้าวอยู่ไม่ไกลจากบริเวณนั้น พอได้ระยะเวลาที่นางจันทร์ต้องให้นมลูก นางจันทร์จึงเดินมาที่ที่ปลูกเปลของลูกน้อย และก็เห็นงูจงอางตัวใหญ่หรืองูบองหลาที่ชาวภาคใต้เรียกกันพันที่รอบเปล นางจันทร์เห็นแล้วตกใจเป็นอันมากจึงเรียกนายหูซึ่งอยู่ไม่ไกลนักมาดูและช่วยไล่งูจงอางนั้น แต่งูจงอางนั้นก็ไม่ไปไหน นายหูและนางจันทร์จึงตั้งสัตยาธิฐานว่าขออย่าให้งูนั้นทำร้ายลูกน้อยเลย ไม่นานนักงูจงอางนั้นก็คลายวงรัดออกและเลื้อยหายไปในป่านายหูและนางจันทร์จึงเข้าไปดูลูกน้อยเห็นว่ายังหลับอยู่และไม่เป็นอันตรายใด ๆ และปรากฏว่ามีเมือกแก้วขนาดใหญ่ที่งูจงอางคลายไว้อยู่บนอกเด็กชายปูนั้น เมือกแก้วนั้นมีแสงแวววาวและต่อมาได้แข็งตัวเป็นลูกแก้ว ปัจจุบันได้ประดิษฐานที่วัดพะโคะ เมื่อเศรษฐีปานทราบเรื่องเข้าก็บีบบังคับขอลูกแก้วเอาจากนายหูและนางจันทร์ บิดามารดาของท่านจึงจำต้องยอมให้ลูกแก้วนั้นแก่เศรษฐีปานซึ่งเป็นนายเงิน แต่ลูกแก้วนั้นเป็นของศักดิ์สิทธิประจำตัวท่าน เมื่อเศรษฐีปานเอาลูกแก้วไปแล้วก็เกิดเภทภัยในครอบครัวเกิดการเจ็บป่วยกันบ่อย และมีฐานะยากจนลง เศรษฐีปานจึงได้เอาลูกแก้วมาคืนและขอขมาเด็กชายปู และยกหนี้สินให้แก่นายหูและนางจันทร์ ทั้งสองจึงพ้นจากการเป็นทาสและต่อมาก็มีฐานะดีขึ้น ๆ ส่วนเศรษฐีปานก็มีฐานะดีขึ้นดังเดิม เมื่อท่านมีอายุได้ประมาณ 7 ขวบ พ.ศ. 2132 บิดามารดาของท่านจึงนำท่านไปฝากไว้เป็นศิษย์วัดเพื่อเล่าเรียนหนังสือ ที่วัดกุฎ๊หลวงหรือวัดดีหลวงในปัจจุบัน ซึ่งเป็นวัดอยู่ใกล้บ้านท่าน ขณะนั้นมีท่านสมภารจวง ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุงของท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่ เด็กชายปูเป็นเด็กที่หัวดีเรียนเก่งสามารถเล่าเรียนภาษาขอมและภาษาไทยได้อย่างรวดเร็ว สมภารจวงได้บวชให้ท่านเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 15 ปี ตอนที่ท่านบวชเป็นสามเณรนี้เองบิดาของท่านจึงถวายลูกแก้วคืนให้แก่ท่านเป็นลูกแก้วประจำตัวท่านต่อไป ด้วยความที่เป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ตลอดเวลาของท่าน ต่อมาท่านสมภารจวงได้นำไปฝากให้เล่าเรียนหนังสือที่สูงขึ้นสมัยนั้นเรียกว่ามูลบทบรรพกิจ ปัจบันก็คือเรียนนักธรรมนั่นเอง โดยนำไปฝากเรียนไว้กับสมเด็จพระชินเสน ซึ่งเป็นพระเถระชั้นสูงที่ส่งมาจากกรุงศรีอยุธยา ให้มาครองเป็นเจ้าอาวาสวัดสีคูยังหรือวัดสีหยังในปัจจุบัน ห่างจากวัดดีหลวงไปทางเหนือประมาณ 4 กิโลเมตร ท่านได้เรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและจบหลักสูตรที่วัดสีคูยังนั้น หลังจากนั้นท่านได้เดินทางเข้ามาศึกษาต่อที่เมืองนครศรีธรรมราชเพื่อเรียนหนังสือให้สูงขึ้น โดยมาพำนักอยู่ที่วัดเสมาเมือง ซึ่งเป็นสำนักเรียนและมีสมเด็จพระมหาปิยะทัสสี เป็นเจ้าอาวาส และบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เมื่ออายุครบกาลอุปสมบท ท่านได้ศึกษาวิชาจากครูบาอาจารย์ต่าง ๆ จนมีความรู้และเป็นผู้ทรงอภิญญามาก และได้แสดงปาฏิหาริย์หลายครั้ง ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์จากสมเด็จพระเอกาทศรศในครั้งสุดท้ายในราชทินนามที่ สมเด็จเจ้าพระราชมุนีสามีรามคุณูปรมาจารย์ สุดท้ายเมื่อท่านมีอายุได้ 80 ปี ท่านได้กลับมาจำพรรษาที่วัดพะโคะ วัดบ้านเกิดของท่าน ต่อมาท่านได้สั่งเสียกับลูกศิษย์ว่าเมื่อท่านมรณภาพให้นำพระศพท่านไปไว้ที่วัดช้างไห้ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ต่อไปสถานที่ข้างหน้าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ให้คนมาเที่ยว