วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

ปลากัด

ปลากัด ปลากัด หรือ ปลากัดภาคกลาง (อังกฤษ: Siamese fighting fish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Betta splendens) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidae มีรูปร่างเพรียวยาวและแบนข้าง หัวมีขนาดเล็ก ครีบก้นยาวจรดครีบหาง หางแบนกลม มีอวัยวะช่วยหายใจบนผิวน้ำได้โดยใช้ปากฮุบอากาศโดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป เกล็ดสากเป็นแบบทีนอยด์ ปกคลุมจนถึงหัว ริมฝีปากหนา ตาโต ครีบอกคู่แรกยาวใช้สำหรับสัมผัส ปลาตัวผู้มีสีน้ำตาลเหลือบแดงและน้ำเงินหรือเขียว ครีบสีแดงและมีแถบสีเหลืองประ ในขณะที่ปลาตัวเมียสีจะซีดอ่อนและมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่ามากจนเห็นได้ชัด ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 6 เซนติเมตร พบกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำนิ่งที่มีขนาดตื้นพื้นที่เล็กทั้งในภาคกลางและภาคเหนือในประเทศไทยเท่านั้น สถานะปัจจุบันในธรรมชาติถูกคุกคามจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปและสารเคมีที่ตกค้าง มีพฤติกรรมชอบอยู่ตัวเดียวในอาณาบริเวณแคบ ๆ เพราะดุร้ายก้าวร้าวมากในปลาชนิดเดียวกัน ตัวผู้เมื่อพบกันจะพองตัว พองเหงือก เบ่งสีเข้ากัดกัน ซึ่งในบางครั้งอาจกัดได้จนถึงตาย เมื่อผสมพันธุ์ ตัวผู้จะเป็นฝ่ายก่อหวอดติดกับวัสดุต่าง ๆ เหนือผิวน้ำ ไข่ใช้เวลาฟัก 2 วัน โดยที่ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลไข่และตัวอ่อนเอง โดยไม่ให้ปลาตัวเมียเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ปลากัด เป็นปลาที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดีมาแต่โบราณ โดยปลากัดสายพันธุ์ดั้งเดิมจากธรรมชาติมักเรียกติดปากว่า "ปลากัดทุ่ง" หรือ "ปลากัดลูกทุ่ง" หรือ "ปลากัดป่า" จากพฤติกรรมที่ชอบกัดกันเองแบบนี้ ทำให้นิยมนำมาเลี้ยงใช้สำหรับกัดต่อสู้กันเป็นการพนันชนิดหนึ่งของคนไทย และได้มีการพัฒนาสายพันธุ์และความสามารถในชั้นเชิงการกัดจนถึงปัจจุบัน จนเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของประเทศไทยและเป็นที่รับรู้ของชาวต่างชาติในชื่อ "Siamese fighting fish" ในปัจจุบัน ปลากัดภาคกลางได้ถูกพัฒนาสายพันธุ์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น มีสีสันที่สวยงามและหลากหลายขึ้น เรียกว่า "ปลากัดหม้อ" นิยมเลี้ยงในภาชนะขนาดเล็กและแคบ เช่น ขวดโหล ขวดน้ำอัดลม เป็นต้น อีกทั้งยังได้พัฒนาสายพันธุ์ในแง่ของความเป็นปลาสวยงามอีกหลายสายพันธุ์ เช่น ปลากัดจีน ที่มีเครื่องครีบยาว ปลากัดแฟนซี ที่มีสีสันหลากหลายสวยงาม ปลากัดคราวน์เทล หรือ ปลากัดฮาร์ฟมูน เป็นต้น

ปลาเสือดำ

ปลาเสือดำ ปลาเสือดำ หรือ ปลากะพงเล็ก (ชื่อท้องถิ่นจันทบุรี)[1] ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nandus nebulosus อยู่ในวงศ์ปลาหมอช้างเหยียบ (Nandidae) มีรูปร่างคล้ายปลาดุมชี (N. oxyrhynchus) ซึ่งอยู่ในวงศ์และสกุลเดียวกัน แต่มีจงอยปากสั้นกว่าปลาดุมชี มีลำตัวแบนข้าง หัวและตาโต ปากมน บนฝาปิดเหงือกมีหนามชิ้นเล็ก ๆ 1 ชิ้น ลำตัวสีน้ำตาลแดง มีลายบั้งและประสีคล้ำพาดขวาง 5-6 บั้ง มีแถบยาวสีดำจากปลายปากจนถึงท้ายทอย ครีบหลังตอนแรกสีเหมือนลำตัว ตอนหลังใส ครีบอกใส มีขนาดประมาณ 6 เซนติเมตร-10 เซนติเมตร มีพฤติกรรมชอบซ่อนตัวอยู่นิ่ง ๆ ใต้กองไม้หรือใบไม้ใต้น้ำ เพื่อล่าเหยื่อซึ่งเป็นซึ่งมีชีวิตเล็ก ๆ กินเป็นอาหาร ปลาเสือดำพบได้ในบริเวณภาคตะวันออกของประเทศ และป่าพรุในภาคใต้ มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "นางคง" หรือ "ดุมชี" ในวงการปลาสวยงามนิยมเรียกว่า "เสือลายเมฆ"[2]

เสือดาวหิมะ

เสือดาวหิมะ เสือดาวหิมะ (อังกฤษ: Snow leopard) สัตว์ในวงศ์ Felidae ชนิดหนึ่ง ที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์แล้ว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Uncia uncia นับเป็นสัตว์ชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Uncia มีขนยาวหนาแน่น สีพื้นเทาอมเหลือง บริเวณสีข้างจะอมเหลืองจาง ๆ มีลายดอกเข้มทั่วตัวคล้ายเสือดาว (Panthera pardus) ช่วยให้ดูกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมที่อาศัยซึ่งเป็นภูเขาหินและหิมะปกคลุม ลายดอกบริเวณหลังและสีข้างมีขนาดใหญ่ ส่วนบริเวณหัวและขาเป็นลายจุดขนาดเล็ก บริเวณคาง อก และท้องเป็นสีขาวปลอดไม่มีลาย ลายบริเวณหลังและสีข้างจะจางกว่าบริเวณอื่นซึ่งต่างจากเสือลายจุดชนิดอื่นที่มักมีลายที่หลังเข้มกว่า หางด้านบนจะเป็นวงสีดำ ด้านล่างของหางเป็นจุดจาง ๆ เปรียบเทียบลายดอกของเสือดาวหิมะกับของเสือดาวแล้ว ดอกของเสือดาวหิมจะห่างกันมากกว่า และไม่คมชัดเท่า มีกล้ามเนื้อหน้าอกและหัวไหล่ที่แข็งแรง อุ้งเท้ากว้างแข็งแรงและปกคลุมด้วยขน ช่วยให้เพิ่มพื้นที่ผิวและกระจายน้ำหนักตัวลงบนหิมะได้อย่างสม่ำเสมอ และช่วยปกป้องอุ้งเท้าจากความเย็นของหิมะได้ดี มีโพรงจมูกใหญ่ มีความยาวลำตัวและหัว 90-135 เซนติเมตร ความยาวหาง 90 เซนติเมตร ความสูงถึงหัวไหล่ 60 เซนติเมตร น้ำหนักในตัวผู้ 44-55 กิโลกรัม ตัวเมีย 35-40 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางบนภูเขาสูงที่มีหิมะปกคลุมในภูมิภาคเอเชียกลาง เช่น มองโกเลีย, ภูฐาน, ทิเบต, จีน, อัฟกานิสถาน, รัสเซีย, อินเดีย, เนปาล โดยพบที่ทิเบตและจีนมากที่สุด มีสายพันธุ์ย่อยทั้งหมด 2 สายพันธุ์ คือ U. u. uncia พบในมองโกเลียและรัสเซีย และ U. u. uncioides พบในจีนและเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งที่อยู่ของทั้ง 2 ชนิดนี้ไม่เชื่อมต่อติดกัน มีพฤติกรรมและชีววิทยาเป็นสัตว์ที่มีนิสัยขี้อาย มักหลบเมื่อพบกับมนุษย์ สามารถกระโดดได้ไกลถึง 15 เมตร มีรายงานนอนกลางวันชอบหลบไปนอนในรังของแร้งดำหิมาลัย (Aegypius monachus) โดยการกระโดดขึ้นไปเลยไม่ใช้การปีน ออกล่าเหยื่อในเวลาเย็นหรือเช้าตรู่ โดยล่าสัตว์ทุกขนาดทั้งสัตว์ใหญ่สัตว์เล็ก โดยปกติแล้วจะล่าเหยื่อและอยู่ตามลำพัง ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์ ที่อาจอยู่เป็นคู่ เมื่อล่าเหยื่อได้แล้วอาจจะกินไม่หมดในครั้งเดียว อาจใช้เวลานานถึง 3-4 วันกว่าเหยื่อจะหมด นานที่สุดคือ 1 สัปดาห์ เสือดาวหิมะมักอยู่ในพื้นที่เล็ก ๆ ในระยะเวลาประมาณ 7-10 วัน ก่อนที่จะเดินทางไกลไปอีกที่หนึ่ง ระยะทางที่เดินทางวันหนึ่งเฉลี่ยราว 1 กิโลเมตรสำหรับตัวผู้และ 1.3 กิโลเมตรสำหรับตัวเมีย บางครั้งอาจเดินทางได้ไกลถึงวันละ 7 กิโลเมตร ในอดีตมีการล่าเสือดาวหิมะเพื่อทำเป็นเสื้อขนสัตว์ โดยมีราคาซื้อขายสูงถึงตัวละ 50,000 ดอลลาร์ และมีการล่าถึงปีละ 1,000 ตัว จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1952 ทางรัฐบาลอินเดียจึงได้ออกกฎหมายคุ้มครองขึ้นมา แต่ปัจจุบันก็ยังมีการลักลอบในพื้นที่ต่าง ๆ เช่นกัน ปัจจุบัน คาดการว่ามีปริมาณเสือดาวหิมะเหลืออยู่ในธรรมชาติประมาณ 4,000 ตัว[1]

เสือดาว

เสือดาว เสือดาว หรือ เสือดำ (อังกฤษ: Leopard, Panther) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จัดอยู่ในวงศ์ฟิลิดี (Felidae) เป็นสัตว์กินเนื้อที่มีขนาดใหญ่รองจากเสือโคร่ง (Panthera tigris) ลำตัวสีน้ำตาลอมเหลืองหรือมีสีเหลือง มีลายจุดสีดำแต้มบริเวณลำตัวเป็นจำนวนมากโดยลายจุดจะเรียงตัวกันเป็นกลุ่ม ๆ โดยจะปรากฏเฉพาะที่บริเวณด้านหลังและด้านข้างของลำตัว แตกต่างจากบริเวณส่วนหัว ขา เท้า บริเวณใต้ท้องที่จะมีจุดสีดำปรากฏอยู่เช่นเดียวกับขนใต้ท้องที่มีสีขาวหรือสีเทา ขนาดความยาวหัวถึงลำตัว 107-129 เซนติเมตร หางมีความยาว 79.2 - 99.1 เซนติเมตร ใบหูมีความยาว 6.5 - 7.4 เซนติเมตร และหนัก 45 - 65 กิโลกรัม เสือดาวและเสือดำ จัดอยู่ในเสือชนิดเดียวกัน ซึ่งส่วนมากโดยทั่วไปจะเข้าใจผิดว่า เสือดาว และ เสือดำ เป็นเสือคนละชนิด ซึ่งในการผสมพันธุ์ของเสือดาว ลูกเสือที่เกิดใหม่ในครอกเดียวกัน อาจมีลูกเสือได้ทั้งสองชนิดคือเสือดาวและเสือดำ โดยที่เสือดำจะมีสีขนปกคลุมร่างกายด้วยสีดำ ซึ่งมีลายจุดเช่นเดียวกับเสือดาว เพียงแต่กลมกลืนกับสีขนทำให้มองเห็นได้ไม่ชัด เสือดำมีชื่อเรียกได้หลายอย่างเช่น เสือลายตลับ เสือลายจ้ำหลอด ลักษณะทั่วไป ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในแอฟริกาและเอเชีย ตั้งแต่แมนจูเรียลงมาถึงอินโดจีน ไทย มาเลเซีย และชวา สำหรับประเทศไทยพบตามป่าทั่วไปแต่พบมากทางภาคใต้ กินสัตว์ป่าทุกชนิดที่จับได้ เช่น หมู กวาง ลิง นกยูง สุนัข และแมลง บางครั้งปู ปลาก็กิน เป็นสัตว์เลือดอุ่น มักอยู่อาศัยในป่าโปร่ง สามารถขึ้นล่าเหยื่อบนต้นไม้ หรือ ลากเหยื่อไปกิน บนต้นไม้เพื่อหลีกหนีจากศัตรูได้ ตามลำตัวมีลายจุดสีดำ

หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง

หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง
หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง เป็นพระเกจิดังเจ้าตำรับพระราหูอมจันทร์ เครื่องรางที่ให้คุณในด้านของโชคลาภ, การพ้นจากเคราะห์ต่างๆ เอ่ยถึง หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง ทุกคนก็จะนึกถึงราหูอมจันทร์เเละวัวธนู หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง “หลวงพ่อน้อย คันธโชโต“ เป็นพระเกจิดังเจ้าตำรับพระราหูอมจันทร์ เครื่องรางที่ให้คุณ ในด้านของโชคลาภ, การพ้นจากเคราะห์ต่างๆ และเสริมดวงชะตา ต้องยกให้กับพระราหูอมจันทร์ เนื้อกะลาตาเดียว แกะของหลวงพ่อน้อยวัดศรีษะทอง ต.ห้วยตะโก อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม หลวงพ่อน้อย เป็นพระเกจิอาจารย์เชื้อสายลาว ที่มีวิทยาคมแก่กล้ารูปหนึ่ง อัตโนประวัติ มีนามเดินว่า “น้อย นาวารัตน์” เกิดเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2435 ตรงกับวันแรม 13 ค่ำ ปีมะโรง ที่บ้านตำบลศรีษะทอง โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายมาและนางมี นาวารัตน์ หลวงพ่อน้อยมีพี่น้องทั้งหมด 5 คน เป็นบุตรคนสุดท้อง โยมบิดาของหลวงพ่อน้อย เป็นหมอรักษาโรคแบบแผนโบราณและเป็นหมอไสยศาสตร์ ที่เก่งกล้าทางอาคม ชาวบ้านเรียกกันว่า “พ่อหมอ” อยู่ยงคงกระพัน ขนาดเอามีดคมสับเนื้อหนังตัวเองให้ดูได้สบาย ไม่ระคายเคืองผิวหนัง เป็นที่เลื่อมใสของชาวลาวโดยทั่วไป ในสมัยที่หลวงพ่อน้อยยังอยู่ในเพศฆราวาส กล่าวกันว่า ท่านเป็นผู้ที่มีความขยันขันแข็งเป็นอันมาก ช่วยโยมมารดาทำนาปลูกผักอยู่เป็นประจำครั้นว่างจากงานก็ศึกษาอักขระเลขยันต์คาถาอาคมไสยศาสตร์ ตลอดจนตำรับยาจากโยมบิดาจนเจนจบ ครั้งเมื่อหลวงพ่อน้อย ท่านอายุได้ 21 ปี เป็นนิมิตหมายที่ดีในวันพฤหัสบดีขึ้น 12 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 14 เมษายน 2456 ท่านได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ในบวรพระพุทธศาสนาด้วยความศรัทธาอันแน่วแน่ที่มีอยู่เป็นนิสัย โดยมีพระอธิการยิ้ว เจ้าอาวาสวัดแค เป็นพระอุปัชฌาจารย์, พระอธิการเกิด วัดงิ้วราย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระภิกษุมุน วัดกลางคูเวียง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “คนธโชโต” หลวงพ่อน้อย ท่านได้อยู่จำพรรษาอยู่ที่วัดแคอยู่ระยะหนึ่งหลวงพ่อน้อย จึงได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดศรีษะทอง ในระยะนั้น หลวงพ่อลีเป็นเจ้าอาวาสอยู่และท่านก็ได้ศึกษาวิชาการต่างๆ ที่ได้สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยที่หลวงพ่อไตรเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีษะทอง เช่น วิชาการสร้างวัวธนูและราหูอมจันทร์ เป็นต้น เมื่อหลวงพ่อน้อยได้มีพรรษาที่สูงขึ้น พอดีกับพระอธิการช้อยซึ่งเป็นเจ้าอาวาส ได้ลาสิกขาไป บรรดาญาติโยมอุบาสก-อุบาสิกา จึงได้นิมนต์หลวงพ่อน้อยขึ้นเป็นเจ้าอาวาส ท่านได้ปฏิบัติตนตามสมควร ให้สมกับเจตนาของญาติโยมและพัฒนาวัดจนมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก ต่อมา ได้รับตำแหน่งเจ้าคณะตำบลปกครองวัดในเขตตำบลของท่านเป็นตำแหน่งสุดท้าย หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง ท่านได้สร้างพระเครื่องและเครื่องรางของขลังไว้หลายชนิด แต่ที่มีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก คือ “พระราหูอมจันทร์” และ “พระโคสุลาภ” หรือวัวธนู โดยเฉพาะ พระราหูอมจันทร์ ซึ่งถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในชุดเบญจเครื่องรางและให้การยอมรับมาช้านาน พระราหูอมจันทร์ของวัดศรีษะทองมีลักษณะและวิธีการสืบมาจากหลวงพ่อไตร แต่ได้มีการสร้างมากที่สุดในสมัยหลวงพ่อน้อย เป็นการสร้างตามตำรับใบลานจานอักขระขอมลาวที่นำมาจากประเทศลาวโดยตรง ความเป็นมาของราหูอมจันทร์ ตามตำนานทางไสยศาสตร์ได้กล่าวไว้ว่า พระราหูเป็นยักษ์ดุร้าย น่ากลัว ผิวดำเป็นเงาวาวเหมือนนิล มีหางเป็นนาคราชและมีพญาครุฑเป็นพาหนะรับใช้ประจำสถิตพำนักอยู่ในอากาศแวดล้อมด้วยม่านสีดำ แต่เหตุที่ทำให้พระราหูมีเพียงองค์ครึ่งเดียวนั้น เนื่องจากพระราหู ต้องจักรของพระนารายณ์ตัดขาด เพราะว่าพระราหูแอบดื่มน้ำอมฤต ในขณะที่พระราหูดื่มน้ำอมฤตอยู่นั้น พระอาทิตย์และพระจันทร์ได้มาเห็นเข้า นำความไปฟ้องพระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงกริ้วเป็นเหตุให้ขว้างจักรไปต้องกายพระราหูขาดครึ่ง แต่พระราหูไม่ตาย เนื่องจากได้ดื่มน้ำอมฤตเข้าไป พระราหูจึงมีความแค้นเคืองต่อพระอาทิตย์และพระจันทร์ ที่คอยเสนอหน้าไปฟ้องพระนารายณ์จึงคอยเฝ้าจับพระอาทิตย์และพระจันทร์กินอยู่เสมอมา //

หลวงพ่อสุด วัดกาหลง

ตามประวัติของหลวงพ่อสุดแห่งวัดกาหลง จ.สมุทรสาคาเจ้าตำรับ ยันต์ตะกร้อ และ เสือเผ่น ท่านเป็นชาวอำเภอพนมไพร จ.ร้อยเอ็ด เกิดในตระกูลชาวนา ในสมัยราชกาลที่ 5 ท่านบวชเป็นสามเณรเมื่ออายุ 16 ปี ที่วัดกลางพนมไพร จ.ร้อยเอ็ด แล้วเดินทางรอนแรมจากร้อยเอ็ด ไปแสวงหาวิชา และ ความรู้ในทางธรรมตามที่ต่าง ๆ จนกระทั่งได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดกาหลง จนมรณภาพ เรื่องราวของหลวงพ่อสุดเกี่ยวกับพลังอำนาจจิต ที่อยู่ในรูปการสักยันต์ตะกร้อ และเสือแผ่นนั้น โด่งดังมากแม้แต่ “ตี๋ใหญ่” ขุนโจรชื่อดัง ที่เขาลือกันว่าหนังเหนียว และแคล้วคลาดอยู่ตลอดยังนับถือ ไปมาหาสู่หลวงพ่ออยู่บ่อยๆ “ตี๋ใหญ่” มีของดี คือ มีผ้ายันต์ กับ ตะกรุดของหลวงพ่อสุดไว้ป้องกันตัว ขนาดถูกตำรวจเป็นร้อยล้อมจับก็ยังหนีเอาตัวรอดไปได้ จนใคร ๆ ลือกันว่าตี๋ใหญ่มีวิชาล่องหนหายตัวได้! มีเรื่องเล่าถึงวันที่ “ตี๋ใหญ่” สิ้นชื่อ คือ วันนั้น ก่อนที่จะหนีไปหลบซ่อนตัว “ตี๋ใหญ่” ให้ลูกน้องขับรถพามาหาหลวงพ่อสุดที่วัดกาหลง แต่มาแล้วไม่พบหลวงพ่อ จึงกลับออกมา ระหว่างที่รถวิ่งออกมา ก็โดนถล่มจากเจ้าหน้าที่ทั้งสองข้างทาง นับไม่ถ้วนว่ากี่นัด จะเห็น ว่าคนเราเมื่อดวงขาด มันก็ต้องมีอันเป็นไป และเหตุที่ตี๋ใหญ่มาหาลวงพ่อสุดนั้น เป็นเพราะว่า พวงพระและตะกรุดของตี๋ใหญ่หายไป ก็เลยจะมาขอใหม่จากหลวงพ่อ จึงมาพบจุดจบในวันนั้น หลายคนกล่าวว่าถ้าผ้ายันต์ กับ ตะกรุดยังอยู่ ตี๋ใหญ่อาจจะยังไม่ตาย แต่ถึงอย่างไรตี๋ใหญ่ก็ก่อกรรมทำเข็ญไว้มาก พลังอำนาจจิตหรืออิทธิฤทธิ์ใดๆ ก็มาอยู่ “เหนือกรรม” ไม่ได้ สุดท้ายตี๋ใหญ่ก็ต้องจบชีวิตลง ท่ามกลางการสาปแช่งของผู้คน และใครจะรู้ว่านั้นเป็นสิ่งที่หลวงพ่อสุดกำหนดให้เป็นไปด้วยหรือไม่ ก็ ยังมีเรื่องเล่าถึง อดีตนาวิกโยธินคนหนึ่ง ที่ได้เครื่องรางของหลวงพ่อสุดไป เป็น เหรียญเสือเผ่น และ รอยสัก ขณะที่รับราชการอยู่ เขาถูกส่งไปปราบผู้ก่อการร้ายที่ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ.2519 แล้วโดนถล่ม ขณะอยู่บนรถยีเอ็มซี เพื่อนคนหนึ่งถูกยิงจนตาตุ่มหายไปทั้งแถบ ส่วนตัวเองถูกยิงห้านัด กระสุนเข้ากลางหลังตรงยันต์พอดี เสื้อทะลุเป็นรู แต่กระสุนกลับไม่เข้าเนื้อ และ ไม่มีบาดแผลเพียงแต่เป็นรอยจ้ำ ๆ เท่านั้น ส่วน อีกคนเป็นศิษย์หลวงพ่อสุดเหมือนกัน คนนี้เป็นโรคที่ตา ต้องเข้ารับการผ่าตัดที่โรงพยาบาลศิริราช ระหว่างการรักษาต้องฉีดยาเพื่อผ่าตัด เข้าใจว่าเป็นยาชา แต่พอฉีด เข็มฉีดยากลับไม่เข้าเนื้อ เพราะคนนี้หลวงพ่อสุดสักน้ำมันครอบไว้ ผลสุดท้าย ต้องมานิมนต์หลวงพ่อสุดไปโรงพยาบาล เพื่อทำพิธีถอน คนป่วยจึงได้รับการฉีดยา และ ผ่าตัดเรียบร้อย ปัจจุบันทางวัดกาหลง จ.สมุทรสาคร ได้นำร่างที่เป็นโครงกระดูกของ หลวงพ่อสุด บรรจุไว้ในโลงแก้ว ตั้งให้ประชาชนไปกราบนมัสการอยู่ที่ชั้นสอง ของศาลาการเปรียญภายในวัดซึ่งทุกวัน จะมีประชาชนและลูกศิษย์ที่เลื่อมใสแวะเวียนไปกราบเสรีระร่างของท่านไม่ขาดสาย

หลวงปู่ทวด

หลวงปู่ทวด หลวงปู่ทวด (หรือ สมเด็จเจ้าพะโคะ, หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด, สมเด็จเจ้าพระราชมุนีสามีรามคุณูปรมาจารย์) [1] เป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทยจากตำนานท้องถิ่นซึ่งยังไม่ปรากฏหลักฐานในทางประวัติศาสตร์ยืนยันความมีอยู่จริง ประวัติที่พิมพ์เผยแพร่กล่าวว่าท่านเป็นพระเกจิอาจารย์รูปสำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้ที่ศรัทธาในหลวงปู่ทวดเชื่อกันว่าพระเครื่องที่สร้างเนื่องด้วยท่านจะมีอานุภาพสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองผู้มีพระเครื่องหลวงปู่ทวดในครอบครอง ปัจจุบันหลวงปู่ทวดถือได้ว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ในตำนานที่มีผู้ศรัทธาจำนวนมาก รูปสำคัญ 1 ใน 2 มหาเกจิอาจารย์ของเมืองไทย คู่กับ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) (หลวงปู่โต) ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ตามตำนาน[2]กล่าวว่าหลวงปู่ทวด เป็นบุตรของนายหู นางจันทร์ ซึ่งเป็นทาสในเรือนเบี้ย (ทาสทำงานใช้หนี้) ของเศรษฐีปานเกิดในรัชกาลของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช เมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2125 ณ บ้านสวนจันทร์ (บ้านเลียบ) ต.ดีหลวง (ปัจจุบันเป็นตำบลชุมพล) อ.สทิงพระ(จะทิ้งพระ) จ.สงขลา แรกเกิดมีชื่อว่าปู ขณะท่านเกิดมีเหตุอัศจรรย์คือเกิดฟ้าร้องฟ้าผ่าแผ่นดินสะเทือนเลื่อนลั่น เสมือนหนึ่งว่ามีผู้มีบุญญาธิการมาเกิด เมื่อตัดรกจากสายสะดือแล้วนายหูบิดาของท่านก็นำรกของท่านไปฝังไว้ที่โคนต้นเลียบ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ต้นเลียบในปัจจุบัน เมื่อท่านเกิดมาแล้วก็มีเหตุอัศจรรย์เกิดขึ้นกับท่านเรื่อยมา เป็นต้นว่า ขณะที่ท่านอยู่ในวัยแบเบาะในช่วงฤดูเกี่ยวข้าวบิดามารดาของท่านต้องออกไปเกี่ยวข้าวที่กลางทุ่งนาซึ่งเป็นนาของเศรษฐีปาน ซึ่งท้องนาแห่งนั้นห่างจากบ้านประมาณ 2 กิโลเมตร ที่นาแห่งนั้นมีดงตาลและมะเม่าเป็นจำนวนมากครั้งนั้นจึงเรียกว่าทุ่งเม่า ปัจจุบันตั้งเป็นสำนักสงฆ์ชื่อนาเปล ในสมัยนั้นจึงมีสัตว์ป่าชุกชุมพอสมควร บิดามารดาของท่านจึงผูกเปลของท่านซึ่งเป็นเปลผ้าไว้กับต้นมะเม่าสองต้นและก็ได้เกี่ยวข้าวอยู่ไม่ไกลจากบริเวณนั้น พอได้ระยะเวลาที่นางจันทร์ต้องให้นมลูก นางจันทร์จึงเดินมาที่ที่ปลูกเปลของลูกน้อย และก็เห็นงูจงอางตัวใหญ่หรืองูบองหลาที่ชาวภาคใต้เรียกกันพันที่รอบเปล นางจันทร์เห็นแล้วตกใจเป็นอันมากจึงเรียกนายหูซึ่งอยู่ไม่ไกลนักมาดูและช่วยไล่งูจงอางนั้น แต่งูจงอางนั้นก็ไม่ไปไหน นายหูและนางจันทร์จึงตั้งสัตยาธิฐานว่าขออย่าให้งูนั้นทำร้ายลูกน้อยเลย ไม่นานนักงูจงอางนั้นก็คลายวงรัดออกและเลื้อยหายไปในป่านายหูและนางจันทร์จึงเข้าไปดูลูกน้อยเห็นว่ายังหลับอยู่และไม่เป็นอันตรายใด ๆ และปรากฏว่ามีเมือกแก้วขนาดใหญ่ที่งูจงอางคลายไว้อยู่บนอกเด็กชายปูนั้น เมือกแก้วนั้นมีแสงแวววาวและต่อมาได้แข็งตัวเป็นลูกแก้ว ปัจจุบันได้ประดิษฐานที่วัดพะโคะ เมื่อเศรษฐีปานทราบเรื่องเข้าก็บีบบังคับขอลูกแก้วเอาจากนายหูและนางจันทร์ บิดามารดาของท่านจึงจำต้องยอมให้ลูกแก้วนั้นแก่เศรษฐีปานซึ่งเป็นนายเงิน แต่ลูกแก้วนั้นเป็นของศักดิ์สิทธิประจำตัวท่าน เมื่อเศรษฐีปานเอาลูกแก้วไปแล้วก็เกิดเภทภัยในครอบครัวเกิดการเจ็บป่วยกันบ่อย และมีฐานะยากจนลง เศรษฐีปานจึงได้เอาลูกแก้วมาคืนและขอขมาเด็กชายปู และยกหนี้สินให้แก่นายหูและนางจันทร์ ทั้งสองจึงพ้นจากการเป็นทาสและต่อมาก็มีฐานะดีขึ้น ๆ ส่วนเศรษฐีปานก็มีฐานะดีขึ้นดังเดิม เมื่อท่านมีอายุได้ประมาณ 7 ขวบ พ.ศ. 2132 บิดามารดาของท่านจึงนำท่านไปฝากไว้เป็นศิษย์วัดเพื่อเล่าเรียนหนังสือ ที่วัดกุฎ๊หลวงหรือวัดดีหลวงในปัจจุบัน ซึ่งเป็นวัดอยู่ใกล้บ้านท่าน ขณะนั้นมีท่านสมภารจวง ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุงของท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่ เด็กชายปูเป็นเด็กที่หัวดีเรียนเก่งสามารถเล่าเรียนภาษาขอมและภาษาไทยได้อย่างรวดเร็ว สมภารจวงได้บวชให้ท่านเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 15 ปี ตอนที่ท่านบวชเป็นสามเณรนี้เองบิดาของท่านจึงถวายลูกแก้วคืนให้แก่ท่านเป็นลูกแก้วประจำตัวท่านต่อไป ด้วยความที่เป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ตลอดเวลาของท่าน ต่อมาท่านสมภารจวงได้นำไปฝากให้เล่าเรียนหนังสือที่สูงขึ้นสมัยนั้นเรียกว่ามูลบทบรรพกิจ ปัจบันก็คือเรียนนักธรรมนั่นเอง โดยนำไปฝากเรียนไว้กับสมเด็จพระชินเสน ซึ่งเป็นพระเถระชั้นสูงที่ส่งมาจากกรุงศรีอยุธยา ให้มาครองเป็นเจ้าอาวาสวัดสีคูยังหรือวัดสีหยังในปัจจุบัน ห่างจากวัดดีหลวงไปทางเหนือประมาณ 4 กิโลเมตร ท่านได้เรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและจบหลักสูตรที่วัดสีคูยังนั้น หลังจากนั้นท่านได้เดินทางเข้ามาศึกษาต่อที่เมืองนครศรีธรรมราชเพื่อเรียนหนังสือให้สูงขึ้น โดยมาพำนักอยู่ที่วัดเสมาเมือง ซึ่งเป็นสำนักเรียนและมีสมเด็จพระมหาปิยะทัสสี เป็นเจ้าอาวาส และบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เมื่ออายุครบกาลอุปสมบท ท่านได้ศึกษาวิชาจากครูบาอาจารย์ต่าง ๆ จนมีความรู้และเป็นผู้ทรงอภิญญามาก และได้แสดงปาฏิหาริย์หลายครั้ง ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์จากสมเด็จพระเอกาทศรศในครั้งสุดท้ายในราชทินนามที่ สมเด็จเจ้าพระราชมุนีสามีรามคุณูปรมาจารย์ สุดท้ายเมื่อท่านมีอายุได้ 80 ปี ท่านได้กลับมาจำพรรษาที่วัดพะโคะ วัดบ้านเกิดของท่าน ต่อมาท่านได้สั่งเสียกับลูกศิษย์ว่าเมื่อท่านมรณภาพให้นำพระศพท่านไปไว้ที่วัดช้างไห้ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ต่อไปสถานที่ข้างหน้าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ให้คนมาเที่ยว

หลวงปู่เงิน พุทธโชติ

หลวงปู่เงิน พุทธโชติ ประวัติ นามเดิมแรกเกิดของท่านคือ เงิน เมื่อท่านอายุได้ 3 ขวบ ผู้เป็นลุงได้พามาอยู่ที่กรุงเทพฯศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วัดชนะสงคราม ต่อมา เมื่อท่านอายุ 12 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดชนะสงครามศึกษาพระธรรมวินัย คำภีร์มูลกัจจายน์ เวทมนตร์คาถาและวิทยาการต่างๆ จนแตกฉาน จากนั้น ท่านได้อุปสมบทเมื่ออายุครบ 20 ปี ณ วัดชนะสงคราม มีฉายาว่า "พุทธโชติ" บวชได้ 3 พรรษา ก็ย้ายมาจำพรรษาที่วัดคงคาราม (วัดบางคลานใต้) ต่อมาย้ายเข้าไปอยู่ที่ในหมู่บ้านวังตะโก อยู่ห่างจากวัดคงคารามคนละฝั่งเท่านั้น ตอนที่ย้ายจากวัดคงคาราม หลวงพ่อได้นำกิ่งโพธิ์ติดต้วมาด้วย 1 กิ่งแล้วนำกิ่งโพธิ์นั้นมาปลูกเสี่ยงทาย ถ้าหากต้นโพธิ์ตายก็คงจะอยู่ไม่ได้ ถ้าหากที่นี่จะเป็นวัดได้ขอให้ต้นโพธิ์เจริญงอกงาม ปรากฏว่า ต้นโพธิ์เจริญงอกงามแผ่กิ่งก้านสาขาใหญ่โต หลวงพ่อเงินก็ได้เป็นพระอุปัชฌาย์ที่นี่ด้วย และท่านเป็นเพื่อนกับหลวงปู่ศุข ซึ่งหลวงปู่ศุขก็ได้ฝากกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์มาเป็นลูกศิษย์ด้วย[2] หลวงพ่อเงินถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2464 สิริอายุได้ 111 ปี[1] หลวงปู่ทวด • สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) • หลวงปู่เงิน พุทธโชติ • หลวงปู่ทอง อายะนะ • พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี (แช่ม) • พระพุทธวิถีนายก (บุญ ขันธโชติ) • พระครูวิมลคุณากร (ศุข เกสโร) • พระครูประศาสนสิกขกิจ (พริ้ง อินทโชติ) • พระครูนิวาสธรรมขันธ์ (เดิม พุทธสโร) • หลวงพ่อแช่ม อินทโชโต • หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต • พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต • พระจง พุทธสโร • พระครูพิศิษฐ์อรรถการ (คล้าย จนฺทสุวณฺโณ) • พระครูวิหารกิจจานุการ (ปาน โสนนฺโท) • พระครูภาวนาภิรัต (ทิม อิสริโก) •หลวงพ่อพรหม ถาวโร • พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) • พระราชสังวราภิมณฑ์ (โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ) • พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) • พระราชวุฒาจารย์ (ดูลย์ อตุโล) • หลวงปู่ขาว อนาลโย • หลวงปู่บุดดา ถาวโร • หลวงปู่ฝั้น อาจาโร • พระครูอาคมวิสุทธิ์ (คง สุวณฺโณ) • พระมงคลสิทธิการ (พูล อตฺตรกฺโข) • พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน) • พระวิสุทธิญาณเถร (สมชาย ฐิตวิริโย) • พระธรรมวงศาจารย์ (สุข สุขโณ) พระสังฆาธิการเจ้าอาวาสที่ยังมีชีวิตอยู่ พระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทฺโธ) • พระครูวิมลสมณวัตร (เพี้ยน อคฺคธมฺโม) • พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) • พระครูรัตนปทุมรักษ์ (สมศักดิ์ รกฺขิโต) • พระธรรมโมลี(ทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ)

พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)

พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) เกิดเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2461 ตรงกับ วันศุกร์ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย ณ บ้านจิกก่อ หมู่ที่ 9 ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อนายมา ช่วงโชติ มารดาชื่อ นางพิมพ์ ช่วงโชติ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจำนวน 10 คน หลวงปู่ชา สุภทฺโท ขณะมีชีวิตอยู่ท่านได้อุทิศชีวิตเพื่อการปฏิบัติธรรมและเผยแพร่พุทธศาสนา ทั้งแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ซึ่งบังเกิดผลทำให้ผลงานที่เป็นประโยชน์อเนกอนันต์แก่พระศาสนา ทั้งที่เป็นพระธรรมเทศนา และสำนักปฏิบัติธรรมในนามวัดสาขาวัดหนองป่าพงมากมาย ซึ่งแม้ท่านจะมรณภาพไปนานแล้ว แต่ศิษยานุศิษย์ของท่านก็ยังคงรักษาแนวทางปฏิบัติธรรมที่ท่านได้สั่งสอนไว้จนถึงปัจจุบัน การศึกษา หลวงปู่ชาได้รับการศึกษาชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนบ้านก่อ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จนจบชั้นประถมปีที่ 1 แล้วได้ลาออกจากโรงเรียนเพราะมีจิตใจใฝ่ทางบวชเรียน ภายหลังเมื่อบวชเรียนแล้วได้เรียนหนังสือธรรมเรียนบาลีไวยากรณ์ เรียนมูลกัจจายน์ จนสามารถอ่านแปลภาษาบาลีได้ และได้ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้ชั้นสูงสุดสายนักธรรม คือ สอบได้นักธรรมชั้น เอก ชีวิตในร่มกาสาวพัสตร์ เมื่ออายุ 13 ปี หลังจากลาออกจากโรงเรียนประถมศึกษาแล้ว โยมบิดาได้นำไปฝากกับเจ้าอาวาสเพื่อเรียนรู้บุพกิจเบื้องต้นเกี่ยวกับบรรพชาวิธี จึงได้รับอนุญาตให้บรรพชาเป็น สามเณรชา โชติช่วง เมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ. 2474 โดยมีท่านพระครูวิจิตรธรรมภาณี (พวง) อดีตเจ้าอาวาส วัดมณีวนาราม อุบลราชธานี เป็นอุปัชฌาย์สามเณรชา โชติช่วง ได้อยู่จำพรรษาและศึกษาพระปริยัติธรรม ตลอดจนอยู่ปฏิบัติครูอาจารย์ เป็นเวลา 3 ปี ได้เอาใจใส่ต่อภารกิจของสามเณรท่องสวดมนต์ ทำวัตร ศึกษาหลักสูตรนักธรรมปฏิบัติพระเถระ แล้วจึงได้ลาสิกขาบทมาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนา ทั้งนี้ด้วยความจำเป็นของครอบครัวแบบชาวไร่ชาวนาอีสานทั่วไป ด้วยจิตใจที่ใฝ่ในการบวชเรียน จึงสำนึกอยู่ตลอดเวลาว่าจะต้องอุปสมทบเป็นพระให้ได้ เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ภายหลังเมื่อตกลงกับบิดามารดาและท่านทั้ง 2 ก็อนุญาตแล้วจึงได้ฝากตัวที่วัดก่อในที่ใกล้บ้าน แล้วได้รับอนุญาตให้อุปสมบทได้เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2482 เวลา 13.55 น. ณ พัทธสีมา วัดก่อใน ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานี โดยมีพระเถระสำคัญที่ให้การอุปสมบทดังนี้ พระครูอินทรสารคุณ เป็นพระอุปัชาฌาย์ พระครูวิรุฬสุตการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการสอน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระชา สุภทฺโท ได้จำพรรษาอยู่ ณ วัดก่อนอก 2 พรรษา ตั้งใจศึกษาปริยัติธรรม ทั้งจากตำรับตำราและจากครูอาจารย์ จนสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในสำนักวัดก่อนอกแห่งนี้

อัสนี-วสันต์

อัสนี-วสันต์ ประวัติ พ.ศ. 2517 อัสนี โชติกุล และน้องชาย วสันต์ โชติกุล จากอำเภอเมือง จังหวัดเลย เข้าประกวดดนตรีโฟล์กซองในกรุงเทพฯ และได้รางวัลชนะเลิศ อาจารย์วิมล จงวิไล ซึ่งเป็นหนึ่งในกรรมการพาไปอัดเสียง เป็นจุดกำเนิดของวง อีสซึ่น (Isn't) หลังจากนั้นอัสนี แยกตัวออกจากวงอิสซึ่นมาทำงานเบื้องหลัง ในปี พ.ศ. 2529 อัสนีและวสันต์ตัดสินใจทำผลงานเพลงของตนเองออกมา ออกอัลบั้มชุดแรกคือ บ้าหอบฟาง สังกัดค่ายไนท์สปอตโปรดักชั่น ในสังกัด WEA แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 อัสนีและวสันต์ย้ายมาสังกัดแกรมมี่ เอนเตอร์เทนเมนต์ และมีผลงานชุดที่ 2 ผักชีโรยหน้า ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสูง หลังจากนั้นทั้งคู่มีผลงานเพลงออกมาต่อเนื่องอีกหลายชุด จนปี 2538 พวกเขาทั้งคู่ตั้งค่ายเพลง มอร์ มิวสิก ในเครือแกรมมี่ เอนเตอร์เทนเมนต์ หรือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และ เมื่อปี 2554 ก่อตั้ง บริษัท สหภาพดนตรี จำกัด ร่วมกับ นิติพงษ์ ห่อนาค ชาตรี คงสุวรรณ และ วุฒินันต์ ภิรมย์ภักดี มาจนถึงปัจจุบัน เพลงเทิดพระเกียรติ ทรงพระเจริญ ร่วมขับร้องเนื่องในวโรกาสกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2550 ประพันธ์โดย ยืนยง โอภากุล ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป ประพันธ์ขึ้นเนื่องวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ประพันธ์โดย นิติพงษ์ ห่อนาค 1.บ้าหอบฟาง (พ.ศ. 2529, 1986) ผลงานเพลงชุดแรก เป็นอัลบั้มที่นักวิจารณ์ยอมรับว่าเป็นอัลบั้มที่ดีที่สุดชุดหนึ่ง ต้นฉบับครั้งที่ออกกับทางค่าย ไนท์ สปอต มีทั้งหมดเพียง 9 เพลง บอกแล้ว บ้าหอบฟาง เดือนเพ็ญ ไม่เป็นไร กาลเทศะ วันนี้วันดีวันที่เป็นไท เพลงของเขา น้ำเอย น้ำใจ สมชายกล้าหาญ พ.ศ. 2541 ได้จำหน่ายอีกครั้งโดยแกรมมี่ โดยเรียงลำดับชื่อเพลงดังนี้ บ้าหอบฟาง ไม่เป็นไร เดือนเพ็ญ กาลเทศะ เพลงของเขา น้ำเอย น้ำใจ วันนี้ วันดี ที่เป็นไท สมชายกล้าหาญ บอกแล้ว บ้าหอบฟาง (Live) ไม่เป็นไร (Live) 2.ผักชีโรยหน้า (พ.ศ. 2530,1987) เป็นผลงานที่สร้างความสำเร็จและชื่อเสียง ผักชีโรยหน้า ก็เคยสัญญา เสี่ยวรำพึง บังอรเอาแต่นอน สายล่อฟ้า ให้มันเป็นไป ทั้งๆที่รู้ หนึ่งมิตรชิดใกล้ ขลุ่ยผิว

เขตบางขุนเทียน

เขตบางขุนเทียน เขตบางขุนเทียน เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนใต้ สภาพพื้นที่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเขตเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย การค้า และอุตสาหกรรม ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตเกษตรกรรมและมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เนื่องจากเป็นเขตเดียวของกรุงเทพมหานครที่มีพื้นที่ติดกับอ่าวไทย (เป็นระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร) และยังมีป่าชายเลนหลงเหลืออยู่ ที่ตั้งและอาณาเขต ตั้งอยู่ทางใต้สุดของกรุงเทพมหานคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางบอนและเขตจอมทอง มีทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย คลองวัดสิงห์ คลองสนามชัย คลองวัดกก คลองบัว (คลองตาเปล่ง) และคลองตาสุกเป็นเส้นแบ่งเขต ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตทุ่งครุและอำเภอพระสมุทรเจดีย์ (จังหวัดสมุทรปราการ) มีคลองบางมด คลองรางแม่น้ำ คลองรางด้วน (คลองสวน) คลองรางกะนก คลองนา คลองหัวกระบือ และคลองขุนราชพินิจใจ (คลองกง) เป็นเส้นแบ่งเขต ทิศใต้ จรดอ่าวไทย ทิศตะวันตกติดต่อกับตำบลพันท้ายนรสิงห์และตำบลบางน้ำจืด อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร มีแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรสาคร คลองเสาธง แนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรสาคร คลองสอง คลองแยกพะเนียง คลองตาแม้น คลองแสมดำใต้ และคลองแสมดำเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต ที่มาของชื่อเขต มีคำบอกเล่าว่า บริเวณนี้เคยเป็นแหล่งชุมนุมกองเกวียนที่ไปมาค้าขายจากสุพรรณบุรี โดยทุกกองเกวียนจะมีผู้นำทำหน้าที่คุ้มกันประจำกองเรียกว่า “ขุน” บริเวณที่หยุดรวมกองเกวียนนี้ ชาวบ้านจึงพากันเรียกว่า “บางขุนเกวียน” แล้วเพี้ยนเป็น “บางขุนเกียน” ต่อมาเขียนสะกดเป็น “บางขุนเทียน” ถึงทุกวันนี้ ยังมีความเห็นอีกว่า ชื่อบางขุนเทียน มาจากนามและตำแหน่งบุคคลว่า “ขุนเทียร” เป็นขุนนางรักษาสวนหลวง ที่คงมีส่วนเข้ามาดูแลสวนบริเวณพื้นที่คลองบางขุนเทียนนั่นเอง

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (อังกฤษ: Suankularb Wittayalai School) (อักษรย่อ: ส.ก., S.K.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาชายล้วนขนาดใหญ่ เป็นโรงเรียนรัฐบาลแห่งแรกของประเทศไทย ปัจจุบันมีอายุ 130 ปี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ รหัสสถานศึกษา 00100101 (เดิม) , 10105505 (ใหม่) ก่อตั้งโดย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีเนื้อที่ 11 ไร่ 2 งาน 23 ตารางวา ประกอบด้วยอาคารเรียน 6 หลัง มีจำนวนห้องเรียนทั้งหมด 88 ห้อง แผนการจัดชั้นเรียน มีดังนี้ 12-12-12-14-14-14 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเป็นหนึ่งในโรงเรียนเครือ จตุรมิตรสามัคคี ซึ่งประกอบด้วย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย มีการแข่งขันฟุตบอลระหว่าง 4 โรงเรียน รวมทั้งมีการการแปรอักษรกันทุกๆ 2 ปี ที่มีการจัดการแข่งขัน และแต่ละโรงเรียนจะผลัดกันเป็นเจ้าภาพ และจากนโยบายกระจายโอกาสทางการศึกษาของกระมรวงศึกษาธิการ ทำให้มีการจัดตั้งโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยในเครืออีก 10 แห่ง รวมกับโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็น 11 แห่ง ซึ่งประกอบด้วย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพชรบูรณ์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ) นครสวรรค์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช โดยโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัยได้มีการแข่งขันกรีฑาสวนกุหลาบสัมพันธ์ กรีฑาประเพณีประเภทลู่และลานจะขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยแต่ละโรงเรียนจะผลัดกันเป็นเจ้าภาพ รวมทั้งยังมีการจัดงานชุมนุมลูกเสือสวนกุหลาบสัมพันธ์ เพื่อเป็นงานชุมนุมและทำกิจกรรมร่วมกันของลูกเสือและเนตรนารีของโรงเรียนเครือสวนกุหลาบวิทยาลัยทั้ง 11 แห่งเป็นประจำทุกปีเช่นเดียวกัน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท. หรือ IPST) เป็นหน่วยงานในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ[2] มีหน้าที่หลักในการพัฒนาขีดความสามารถในด้านการศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ของครู และเยาวชนไทย ประวัติ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดตั้งขึ้นโดยประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 42 ลงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2515 ภายใต้ความร่วมมือและการสนับสนุนทั้งด้านงบประมาณและผู้เชี่ยวชาญจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ปัจจุบันเป็นหน่วยงานในกำกับกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2541 แก้เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2548[3] วัตถุประสงค์ ริเริ่ม ดำเนินการ ส่งเสริม ประสานและจัดให้มีการศึกษาค้นคว้า วิจัยและพัฒนาหลักสูตรวิธีการเรียนรู้วิธีสอน และการประเมินผลการเรียนการสอนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก ส่งเสริม ประสาน และจัดให้มีการพัฒนาบุคลากรการฝึกอบรมครู อาจารย์ นักเรียน นิสิตและนักศึกษา เกี่ยวกับการเรียนการสอน และการค้นคว้าวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งเสริม ประสาน และจัดให้มีการค้นคว้า วิจัย ปรับปรุง และจัดทำแบบเรียน แบบฝึกหัด เอกสารทางวิชาการ และสื่อการเรียนการสอนทุกประเภท ตลอดทั้งประดิษฐ์อุปกรณ์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งเสริมการพัฒนาระบบประกันคุณภาพและการประเมิน มาตรฐานการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีในสถานศึกษา พัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ตลอดทั้งการส่งเสริมการผลิตครู อาจารย์ที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ให้คำปรึกษาแนะนำแก่กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น หน่วยงานอื่นของรัฐ หรือหน่วยงานของเอกชนที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาหรือสถานศึกษาเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ตามข้อ 1 ถึง 5

ดาวเนปจูน

ดาวเนปจูน ดาวเนปจูน (อังกฤษ: Neptune) หรือชื่อไทยว่า ดาวสมุทร[1] หรือ ดาวเกตุ คือดาวเคราะห์ในระบบสุริยะลำดับสุดท้ายที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ (ขึ้นอยู่กับการโคจรของดาวพลูโต ซึ่งบางครั้งจะเข้ามาอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่า แต่ปัจจุบันดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์แคระแล้ว) ตัวดาวมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่เป็นอันดับที่ 4 รองจากดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และมีมวลเป็นลำดับที่ 3 รองจากดาวพฤหัสและดาวเสาร์ คำว่า "เนปจูน" นั้นตั้งชื่อตามเทพเจ้าแห่งท้องทะเลของโรมัน (กรีก : โปเซดอน) มีสัญลักษณ์เป็น (♆) ดาวเนปจูนมีสีน้ำเงิน เนื่องจากองค์ประกอบหลักของบรรยากาศผิวนอกเป็น ไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเทน บรรยากาศของดาวเนปจูน มีกระแสลมที่รุนแรง (2500 กม/ชม.) อุณหภูมิพื้นผิวอยู่ที่ประมาณ -220℃ (-364 °F) ซึ่งหนาวเย็นมาก เนื่องจาก ดาวเนปจูนอยู่ไกลดวงอาทิตย์มาก แต่แกนกลางภายในของดาวเนปจูน ประกอบด้วยหินและก๊าซร้อน อุณหภูมิประมาณ 7,000℃ (12,632 °F) ซึ่งร้อนกว่าพื้นผิวของดวงอาทิตย์เสียอีก ยานวอยเอเจอร์ 2 เป็นยานอวกาศจากโลกเพียงลำเดียวเท่านั้น ที่เคยเดินทางไปถึงดาวเนปจูนเมื่อ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) ภาพของดาวเนปจูนซึ่งได้ถ่ายลักษณะของดาวมาแสดงให้เราเห็นจุดดำใหญ่ (คล้ายจุดแดงใหญ่ ของดาวพฤหัส) อยู่ค่อนมาทางซีกใต้ของดาว มีวงแหวนบางๆสีเข้มอยู่โดยรอบ (วงแหวนของดาวเนปจูน ค้นพบก่อนหน้านั้น โดย เอ็ดเวิร์ด กิแนน (Edward Guinan) ดาวเนปจูนมีดวงจันทร์บริวาร 8 หรือ 13 ดวง และดวงใหญ่ที่สุดมีชื่อว่า ไทรทัน ประวัติการค้นพบ ในปี พ.ศ. 2389 เออร์เบียง เลอ เวอร์ริเยร์ (Urbain Le Verrier) คำนวณว่า ต้องมีดาวเคราะห์ดวงหนึ่งรบกวนการโคจรของดาวยูเรนัส จนเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2389 โจฮันน์ จี. กาลเล (Johann G. Galle) นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันแห่งหอดูดาวเบอร์ลิน ได้ค้นพบดาวเนปจูน ในตำแหน่งใกล้เคียงกับผลการคำนวณดังกล่าว อ้างอิง ^ ราชบัณฑิตยสถาน 2546. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊ค พับลิเคชั่นส์ จำกัด.

ดาวเทียม

ดาวเทียม ดาวเทียม (อังกฤษ: Satellite) คือ สิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์คิดค้นขึ้น ที่สามารถโคจรรอบโลก โดยอาศัยแรงดึงดูดของโลก ส่งผลให้สามารถโคจรรอบโลกได้ในลักษณะเดียวกันกับที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ วัตถุประสงค์ของสิ่งประดิษฐ์นี้เพื่อใช้ ทางการทหาร การสื่อสาร การรายงานสภาพอากาศ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์เช่นการสำรวจทางธรณีวิทยาสังเกตการณ์สภาพของอวกาศ โลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวอื่นๆ รวมถึงการสังเกตวัตถุ และดวงดาว ดาราจักร ต่าง ประวัติ ตั้งแต่โลกเราได้มีการประดิษฐ์คิดค้นดาวเทียมขึ้นมาใช้งาน ก็ทำให้โลกเกิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาอำนวยประโยชน์ให้มนุษย์อย่างมากมาย หลายองค์กรและหลายๆ ประเทศต่างมีการเข้าร่วมกันแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี และสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมาอำนวยความสะดวกให้แก่มนุษย์ชาติ ดาวเทียมก่อนทศวรรษที่ 60 ดาวเทียมได้ถูกส่งขึ้นไปโคจรรอบโลกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2500 ดาวเทียมดังกล่าวมีชื่อว่า สปุตนิก (Sputnik) โดยรัสเซียเป็นผู้ส่งขึ้นไปโคจร สปุตนิกทำหน้าที่ตรวจสอบการแผ่รังสีของชั้นบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟีย ในปี พ.ศ. 2501 สหรัฐอเมริกาได้ส่งดาวเทียมขึ้นไปโคจรบ้างมีชื่อว่า "Explorer" ทำให้รัสเซียและสหรัฐเป็น 2 ประเทศผู้นำทางด้านการสำรวจทางอวกาศ และการแข่งขันกันระหว่างทั้งคู่ได้เริ่มขึ้นในเวลาต่อมา ดาวเทียมในทศวรรษที่ 60 ช่วงทศวรรษนี้เป็นช่วงการเฟื่องฟูของดาวเทียมสำหรับมนุษยชาติ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1960 สหรัฐได้ส่งดาวเทียม Echo 1 ขึ้นไปทำหน้าที่ในการสะท้อนคลื่นวิทยุสู่โลกได้เป็นผลสำเร็จ ทำให้เชื่อได้ว่าการสื่อสารผ่านดาวเทียมเป็นเรื่องที่สามารถเป็นไปได้ซึ่งก่อนหน้านั้น ในเดือนเมษายนปีเดียวกัน สหรัฐก็ได้ส่งดาวเทียม TIROS 1 ขึ้นไปสู่อวกาศ ดาวเทียม TIROS 1 เป็นดาวเทียมสำรวจสภาพอากาศดวงแรกที่ได้ส่งภาพถ่ายกลุ่มเมฆหมอกกลับมายังโลก จากนั้นกองทัพเรือสหรัฐได้พัฒนาดาวเทียมหาตำแหน่งดวงแรกที่ได้ถูกส่งขึ้นไปโคจรในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 1960 และหลังจากนั้นเป็นต้นมาก็ได้พัฒนาดาวเทียมเป็นจำนวนมากกว่า 100 ดวงถูกส่งขึ้นไปโคจรแทนที่กันในแต่ละปี ดาวเทียมในทศวรรษที่ 75 ช่วงทศวรรษที่ 75 ได้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เกิดขึ้นในโลกของดาวเทียม อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมได้ถูกนำมาใช้ ชิ้นส่วนอุปกรณ์เหล่านั้นล้วนถูกทำขึ้นมาจากการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบและก่อสร้างดาวเทียม ดาวเทียมในทศวรรษที่ 80 ช่วงทศวรรษที่ 80 ดาวเทียมได้ถูกนำมาใช้ในการช่วยเหลือมนุษย์มากขึ้น ในเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2525 Palapa B-2 ซึ่งเป็นดาวเทียมเพื่อการช่วยเหลือมนุษย์ดวงแรกที่ถูกส่งขึ้นไปโดยบรรทุกไปกับกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์(ยานอะพอลโล11) ดาวเทียมในทศวรรษที่ 90 ในช่วงทศวรรษที่ 90 ดาวเทียมถูกใช้งานไปอย่างกว้างขวาง ไม่เว้นแม้แต่งานธรรมดาทั่วไป ยกตัวอย่างเช่น บริษัท TRW Inc. ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนธรรมดา ก็ได้มีการวางแผนที่จะสร้างระบบดาวเทียมที่ครอบคลุมเครือข่าย ข่ายการสื่อสารผ่านดาวเทียม ระบบนี้เรียกว่า "Odyssey" ซึ่งได้ถูกใช้ในธุรกิจโทรคมนาคม ดาวเทียมของ TRW จะเน้นให้บริการในเขตพื้นที่สำคัญๆ เหมือนกับว่ามันได้ครอบคลุมโลกทุกส่วนไว้เป็นหนึ่งเดียว ฉะนั้น บริษัทจึงคาดหวังว่าจะสร้างกำไรงามๆ จากธุรกิจดาวเทียมโทรคมนาคม เหล่านี้เป็นวิวัฒนาการที่เกิดขึ้นและถูกพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีกว่าอยู่ตลอดเวลา ดาวเทียมหลังทศวรรษที่ 90 หลังทศวรรษที่ 90 จนถึงศตวรรษที่ 21 ดาวเทียมยังคงถูกพัฒนาประสิทธิภาพ และขีดความสามารถต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง จนก้าวไปสู่ระบบอุตสาหกรรมดาวเทียม ส่วนประกอบดาวเทียม ดาวเทียมเป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ซับซ้อน มีส่วนประกอบหลายๆ อย่างประกอบเข้าด้วยกันและสามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติ สามารถโคจรรอบโลกด้วยความเร็วที่สูงพอที่จะหนีจากแรงดึงดูดของโลกได้ การสร้างดาวเทียมนั้นมีความพยายามออกแบบให้ชิ้นส่วนต่างๆ ทำงานได้อย่างประสิทธิภาพมากที่สุด และราคาไม่แพงมาก ดาวเทียมประกอบด้วยส่วนประกอบเป็นจำนวนมาก แต่ละส่วนจะมีระบบควบคุมการทำงานแยกย่อยกันไป และมีอุปกรณ์เพื่อควบคุมให้ระบบต่างๆ ทำงานร่วมกัน โดยองค์ประกอบส่วนใหญ่ของดาวเทียมประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ โครงสร้างดาวเทียม เป็นส่วนประกอบที่สำคัญมาก โครงจะมีน้ำหนักประมาณ 15 - 25% ของน้ำหนักรวม ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเลือกวัสดุที่มีน้ำหนักเบา และต้องไม่เกิดการสั่นมากเกินที่กำหนด หากได้รับสัญญาณที่มีความถี่ หรือความสูงของคลื่นมากๆ (amptitude) ระบบเครื่องยนต์ ซึ่งเรียกว่า "aerospike" อาศัยหลักการทำงานคล้ายกับเครื่องอัดอากาศ และปล่อยออกทางปลายท่อ ซึ่งระบบดังกล่าวจะทำงานได้ดีในสภาพสุญญากาศ ซึ่งต้องพิจารณาถึงน้ำหนักบรรทุกของดาวเทียมด้วย ระบบพลังงาน ทำหน้าที่ผลิตพลังงาน และกักเก็บไว้เพื่อแจกจ่ายไปยังระบบไฟฟ้าของดาวเทียม โดยมีแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) ไว้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ให้ดาวเทียม แต่ในบางกรณีอาจใช้พลังงานนิวเคลียร์แทน ระบบควบคุมและบังคับ ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ที่เก็บรวมรวมข้อมูล และประมวลผลคำสั่งต่างๆ ที่ได้รับจากส่วนควบคุมบนโลก โดยมีอุปกรณ์รับส่งสัญญาณ (Radar System) เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร ระบบสื่อสารและนำทาง มีอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ซึ่งจะทำงาน โดยแผงวงจรควบคุมอัตโนมัติ อุปกรณ์ควบคุมระดับความสูง เพื่อรักษาระดับความสูงให้สัมพันธ์กันระหว่างพื้นโลก และดวงอาทิตย์ หรือเพื่อรักษาระดับให้ดาวเทียมสามารถโคจรอยู่ได้ เครื่องมือบอกตำแหน่ง เพื่อกำหนดการเคลื่อนที่ นอกจากนี้ยังมีส่วนย่อยๆ อีกบางส่วนที่จะทำงานหลังจาก ได้รับการกระตุ้นบางอย่าง เช่น ทำงานเมื่อได้รับสัญญาณ สะท้อนจากวัตถุบางชนิด หรือทำงานเมื่อได้รับลำแสงรังสี ฯลฯ ชิ้นส่วนต่างๆ ของดาวเทียมได้ถูกทดสอบอย่างละเอียด ส่วนประกอบต่างๆ ถูกออกแบบสร้าง และทดสอบใช้งานอย่างอิสระ ส่วนต่างๆ ได้ถูกนำมาประกอบเข้าด้วยกัน และทดสอบอย่างละเอียดครั้งภายใต้สภาวะที่เสมือนอยู่ในอวกาศก่อนที่มัน จะถูกปล่อยขึ้นไปในวงโคจร ดาวเทียมจำนวนไม่น้อยที่ต้องนำมาปรับปรุงอีกเล็กน้อย ก่อนที่พวกมันจะสามารถทำงานได้ เพราะว่าหากปล่อยดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรแล้ว เราจะไม่สามารถปรับปรุงอะไรได้ และดาวเทียมต้องทำงานอีกเป็นระยะเวลานาน ดาวเทียมส่วนมากจะถูกนำขึ้นไปพร้อมกันกับจรวด ซึ่งตัวจรวดจะตกลงสู่มหาสมุทรหลังจากที่เชื้อเพลิงหมด

อำเภอลับแล

อำเภอลับแล อำเภอลับแล หรือ เมืองลับแล เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นเมืองล้านนาโบราณมีมาตั้งแต่สมัยก่อนกรุงสุโขทัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เคยเสด็จมาเมื่อ ปี พ.ศ. 2444 ความเป็นมาของคำว่า “ลับแล” นั้น ตามข้อสันนิษฐานของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ[1]ว่า เดิมชาวเมืองแพร่ เมืองน่าน หนีข้าศึกและความเดือดร้อนมาซุ่มซ่อนตั้งชุมชนอยู่บริเวณนี้ เนื่องจากเป็นที่ป่ารก หลบซ่อนตัวง่ายและ ภูมิประเทศเป็นเมืองอยู่ในหุบเขามีที่เนินสลับกับที่ต่ำ คนต่างเมืองถ้าไม่คุ้นเคยกับภูมิประเทศจะหลงทางได้ง่าย อำเภอลับแลนอกจากจะมีโบราณสถานแบบล้านนาโบราณที่น่าสนใจมากมายแล้ว ยังเป็นแหล่งผลิตสินค้าหัตถกรรมพื้นเมืองล้านนา เช่น ผ้าตีนจกและไม้กวาด เป็นแหล่งปลูกลางสาด ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงของจังหวัด ประวัติเมืองลับแล หลักฐานทางประวัติศาสตร์ พอจะอนุมานได้ว่าที่เมืองทุ่งยั้ง แต่เดิมเคยเป็นเมืองใหญ่ที่เป็นชุมชนของพวกละว้าและขอม มีความเจริญรุ่งเรืองมาช้านาน เพราะได้มีการขุดพบกลองมโหระทึกและพร้าสำริด ได้ในบริเวณดังกล่าว ต่อมาเมื่ออาณาจักรขอมล่มสลายลง คนไทยก็ได้เข้ามาครอบครองและตั้งเมืองขึ้นเรียกชื่อว่า "เมืองกัมโภช" สมุดไทยบัญชีถือสังกัดมูลนายประจำแขวงเมืองลับแลในสมัยรัชกาลที่ 4 การแต่งกายของชาวลับแลในสมัยรัชกาลที่ 5 จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทำให้ทราบว่ากลุ่มชนแรกที่มาอยู่ในบริเวณเมืองลับแลในปัจจุบันนั้นอพยพมาจากอาณาจักรเชียงแสนโบราณ (โยนกนาคพันธุ์) ทางด้านเหนือของเมืองกัมโภช มีภูมิประเทศเป็นป่าเขาสลับซับซ้อน มีบรรยากาศเยือกเย็นยามพลบค่ำแม้ตะวันจะยังไม่ตกดินก็จะมืดแล้ว เพราะมีดอยม่อนฤๅษีเป็นฉากกั้นแสงอาทิตย์ ป่านี้จึงได้ชื่อว่า "ป่าลับแลง" (แลง เป็นภาษาล้านนาแปลว่า เวลาเย็น) ต่อมาเพี้ยนเป็น "ลับแล" ซึ่งกลายมาเป็นชื่ออำเภอลับแลในสมัยปัจจุบัน ในยุคเดียวกับการรวมตัวของเมืองกัมโภช ได้มีผู้คนจากอาณาจักรโยนกเชียงแสน อพยพหลบภัยสงครามเข้ามาตั้งรกรากอยู่บริเวณที่ราบเขาแห่งหนี่งและตั้งชื่อว่า บ้านเชียงแสน ต่อมาคนกลุ่มนั้นก็แยกย้ายกันไปหักล้างถางดงสร้างบ้านเมือง ขึ้นกระจัดกระจายตามที่ราบและไหล่เขาต่าง ๆ เมื่อได้ทำมาหากินกันระยะหนึ่ง คนกลุ่มนั้นได้ไปอัญเชิญ เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร พระราชโอรสของพระเจ้าเรืองชัยธิราช จากอาณาจักรโยนกนาคนครเชียงแสน มาตั้งเมืองที่ป่าลับแล ให้ชื่อว่าเมืองลับแล และสร้าง คุ้มเจ้าหลวง หรือ หอคำ ขึ้นที่บ้านท้องลับแล (บริเวณวัดเจดีย์คีรีวิหาร) เมื่ออาณาจักรโยนกเชียงแสนล่มสลายลง อาณาจักรล้านนาเฟื่องฟูแทน เมืองลับแลก็ยอมขึ้นกับอาณาจักรล้านนา ใน พ.ศ. 1690 อาณาจักรสุโขทัยรุ่งเรืองขึ้น ก็เป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรสุโขทัย ในปี พ.ศ. 1981 เมืองทุ่งยั้ง ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้น เพราะเป็นเมืองหน้าด่านของอาณาจักรอยุธยา เมืองลับแลจึงได้ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเมืองทุ่งยั้ง ครั้นต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ ในราว พ.ศ. 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองอุตรดิตถ์ และได้เสด็จมาถึงเมืองลับแลในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2444 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายศาลากลางจังหวัดจากเมืองพิชัยมาตั้งที่บางโพ และยุบเมืองทุ่งยั้งรวมกับลับแลและสถาปนาเมืองลับแลขึ้นเป็นอำเภอ ส่วนอาคารที่ทำการยังตั้งอยู่ที่เมืองทุ่งยั้ง บริเวณใกล้เวียงเจ้าเงาะ อนุสาวรีย์พระศรีพนมมาศ คนดีเมืองลับแล บริเวณตัวเมืองลับแล ต่อมาพระพิศาลคีรี ได้ย้ายอาคารที่ทำการไปตั้งที่ม่อนจำศีลในปีเดียวกันนี้ (ห่างจากที่ว่าการ อำเภอปัจจุบันไปทางทิศเหนือประมาณ 1 กิโลเมตร) ครั้นถึง พ.ศ. 2457 สมัย พระศรีพนมมาศ (เมื่อครั้งเป็นหลวงศรีพนมมาศ) เห็นว่าห่างไกลจากตัวเมืองลำบากแก่ราษฎรไปติดต่อ ประกอบกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์จะสงวนที่ ม่อนจำศีล เป็นที่ประดิษฐานพระเหลือ (พระพุทธรูปที่สร้างจากทองที่เหลือจากการหล่อพระพุทธชินราชที่จังหวัดพิษณุโลก) เพราะทรงเห็นว่าทิวทัศน์ของม่อนจำศีลคล้ายกับเมืองชวา[2] จึงได้ย้ายอาคารที่ทำการจากม่อนจำศีล มาอยู่ที่ ม่อนสยามินทร์ (ชาวบ้านเรียกม่อนสามินทร์) เพราะเคยเป็นที่ตั้งพลับพลารับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอในปัจจุบัน[3]

เมืองพัทยา

เมืองพัทยา เมืองพัทยา เป็นเขตปกครองพิเศษเขตหนึ่งที่ตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2521[1] (เทียบเท่าเทศบาลนคร) ในเขตจังหวัดชลบุรี จัดเป็นเมืองท่องเที่ยวนานาชาติที่มีชื่อเสียงระดับโลกโดยเฉพาะหาดทรายที่ทอดยาวไปตามแนวชายฝั่งทะเล จัดได้ว่ามีความสวยงามอีกแห่งของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 140 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนฝั่งทะเลทางทิศตะวันออกของอ่าวไทย ซึ่งพัทยาแบ่งเป็น 4 ส่วนได้แก่ พัทยาเหนือ พัทยากลาง พัทยาใต้ และหาดจอมเทียน ปัจจุบัน ได้มีแผนเสนอชื่อเมืองพัทยาต่อยูเนสโก ให้เป็นเมืองภาพยนตร์ เนื่องด้วยมีการถ่ายทำภาพยนตร์ที่พัทยาไม่น้อยกว่า 300 เรื่องต่อปี และรายได้ร้อยละ 90 มาจากการท่องเที่ยว[2] ประวัติเมืองพัทยา เริ่มรู้จักกันจากคำบอกเล่าต่อกันมาว่า เมื่อ พ.ศ. 2310 ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาให้กับพม่า 3 เดือน พระยาตาก (สิน) ขณะนั้นยังเป็นพระยากำแพงเพชร ลงความเห็นว่า หากกรุงศรีอยุธยายังต่อสู้กับพม่าอย่างอ่อนแอเช่นนี้ ต่อไปจะต้องสูญเสียกรุงให้พม่าอย่างแน่นอน พระยากำแพงเพชรจึงรวบรวมสมัครพรรคพวกออกไปตั้งหลักใหม่ ให้มีกำลังทัพเข้มแข็งขึ้นค่อยกลับมากู้กรุงคืน พระยากำแพงเพชรได้เริ่มเคลื่อนทัพออกจากค่ายวัดพิชัยมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สู้พลางร่นถอยหนีการตามล่า ของทหารพม่าไปพลาง จนกระทั่งเลยเข้าแขวงเมืองชลบุรี พระยากำแพงเพชรหยุดพักทัพที่บริเวณหน้าวัดใหญ่อินทารามในปัจจุบัน แล้วเดินทัพมุ่งตรงไปยังจันทบุรี ระหว่างทางได้พักที่บ้านหนองไผ่ ตำบลนาเกลือ แขวงเมืองบางละมุง ปัจจุบันอยู่ด้านหลังสถานีตำรวจภูธรพัทยา ตามพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาเล่ม 2 กล่าวเอาไว้ว่า ขณะที่ นายกลม เป็นนายชุมนุมคุมไพร่ พลอยู่ที่นั่น ตั้งทัพคอยสกัดคิดจะต่อรองพระยากำแพงเพชรในตอนนั้นขึ้นช้างพลายถือปืนนกสับรางแดงพร้อม ด้วยพลทหารที่ร่วมเดินทางมาแห่ล้อมหน้าหลัง ตรงเข้าไปในระหว่างพวกพลนายกลมมาสกัดอยู่ ด้วยเดชะบารมีบันดาลให้นายกลมเกิดเกรงกลัวพระเดชานุภาพวางอาวุธสิ้น พาพรรคพวกพลเข้าร่วมกองทัพกับพระยากำแพง เพชร จากนั้นพระยากำแพงเพชรก็นำทัพไปหยุดประทับ ณ สถานที่ที่มีหนองน้ำครั้งรุ่งขึ้น หรือวันอังคารแรม 6 ค่ำ เดือนยี่ นายกลมจึงนำไพร่พลหมี่นหนึ่งนำทัพไปถึง ณ ตำบลหนึ่ง และหยุดพักเสียหนึ่งคืน วันต่อมาจึงเดินทัพมาถึง นาจอมเทียนและทุ่งไก่เตี้ย สัตหีบ โดยหยุดพักแรมแห่งละคืน ต่อมาชาวบ้านก็เรียกตำบลนี้ว่า ทัพพระยา และเปลี่ยนมาเรียกใหม่ พัทธยา เนื่องจากเห็นว่าตรงบริเวณที่พระยาตากมาตั้งทัพนั้นทำเลดี และมีลมทะเลชื่อ ลมพัทธยา ซึ่งก็คือลมที่พัดมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทิศตะวันออกเฉียงเหนือในต้นฤดูฝน จึงเรียกสถานที่ แห่งนี้ว่า หมู่บ้านพัทธยา ต่อมาปัจจุบันคำว่า พัทธยา ได้เขียนใหม่เป็น พัทยา[3] อีกเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้พัทยาเป็นที่รู้จักไปทั่ว เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2502 เมื่อมีรถบรรทุกขนาดใหญ่ของทหารอเมริกันประมาณ 4-5 คัน บรรทุกทหารเต็มคันรถ ประมาณคันละ 100 คน จากจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งที่นั่นมีฐานทัพของทหารอเมริกันอยู่ มุ่งมาสู่พัทยา และมาเช่าบ้านตากอากาศของพระยาสุนทร บริเวณตอนใต้ของหาด โดยผลัดกันมาพักผ่อนเป็นงวด งวดละสัปดาห์ จากพฤติกรรมของทหารอเมริกันเช่นนี้ จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นการท่องเที่ยวเมืองพัทยาตอนนี้เอง จากสภาพหมู่บ้านชายทะเลที่เงียบสงบ ก็พลันเปลี่ยนกลับกลายมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวตากอากาศ ในเวลาต่อมา หมู่บ้านพัทยาก็ถูกพัฒนาเป็นเมืองท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ในระดับนานาชาติ เป็นที่รู้จักไปทั่วทุกมุมโลก อย่างเช่นปัจจุบัน

จังหวัดสุพรรณบุรี

จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานคร 107 กิโลเมตร จังหวัดที่อยู่ติดกัน (จากทิศเหนือ วนตามเข็มนาฬิกา) ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม และกาญจนบุรี สุพรรณบุรีเป็นเมืองโบราณ พบหลักฐานทางโบราณคดีมีอายุไม่ต่ำกว่า 3,500-3,800 ปี โบราณวัตถุที่ขุดพบมีทั้งยุคหินใหม่ ยุคสำริด ยุคเหล็ก และสืบทอดวัฒนธรรมต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิ ฟูนัน อมราวดี ทวารวดี และศรีวิชัย สุพรรณบุรีเดิมมีชื่อว่า ทวารวดีศรีสุพรรณภูมิ หรือ พันธุมบุรี ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่าจีน แถบ บริเวณตำบลรั้วใหญ่ไปจดตำบลพิหารแดง ต่อมาพระเจ้ากาแตได้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่ที่ฝั่งขวาของแม่น้ำ แล้วโปรดให้มอญน้อยไปสร้างวัดสนามชัย และบูรณะวัดป่าเลไลยก์ ชักชวนให้ข้าราชการจำนวน 2,000 คนบวช จึงขนานนามเมืองใหม่ว่า สองพันบุรี ครั้งถึงสมัยพระเจ้าอู่ทอง ได้สร้างเมืองมาทางฝั่งใต้หรือทางตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ชื่อเมืองเรียกว่า อู่ทอง จวบจนสมัยขุนหลวงพะงั่ว เมืองนี้จึงถูกเรียกว่าชื่อว่า สุพรรณบุรี นับแต่นั้นมา ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองสุพรรณบุรีเป็นเมืองหน้าด่านและเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญ ต้องผ่านศึกสงครามหลายต่อหลายครั้ง สภาพเมืองตลอดจนโบราณสถานถูกทำลายเหลือเพียงซากปรักหักพัง จนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เมืองสุพรรณบุรีได้ฟื้นตัวขึ้นใหม่ และตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน (ลำน้ำสุพรรณ) มาจนตราบทุกวันนี้ ความสำคัญของสุพรรณบุรีในด้านประวัติศาสตร์การกอบกู้เอกราชไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้แก่ ชัยชนะแห่งสงครามยุทธหัตถีที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา ณ สมรภูมิดอนเจดีย์ เป็นมหาวีรกรรมคชยุทธอันยิ่งใหญ่ที่ได้ถูกจารึกไว้ และมีการจัดงานเพื่อเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ทุกปี เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ ในด้านวรรณคดี เป็นเมืองต้นกำเนิดแห่งตำนาน "ขุนช้างขุนแผน" วรรณคดีไทยเรื่องราวและสถานที่ที่ปรากฏตามท้องเรื่องยังคงมีให้เห็นในปัจจุบัน อาทิ บ้านรั้วใหญ่ วัดเขาใหญ่ ท่าสิบเบี้ย ไร่ฝ้าย วัดป่าเลไลยก์ วัดแค อำเภออู่ทอง และอำเภอศรีประจันต์ สุพรรณบุรี ดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์บนพื้นที่ราบภาคกลางสืบสานความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีตเมื่อ พ.ศ. 1420 จากนามเดิมเมืองพันธุมบุรีในยุคทวารวดีตามหลักฐานทางโบราณคดีได้จารึกชื่อไว้ในพงศาวดารเหนือ และนาม "สุพรรณภูมิ" ปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชระบุว่าเป็นนครรัฐที่มีความสำคัญมาก่อนกรุงศรีอยุธยา เมื่อมีการสถาปนากรุงศรีอยุธยา เมืองสุพรรณบุรีจึงจัดอยู่ในฐานะเมืองลูกหลวงซึ่งเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญอีกด้วย

ฮอนด้า ซิตี้

ฮอนด้า ซิตี้ ฮอนด้า ซิตี้ (Honda City) เป็นรถรุ่นหนึ่งที่ฮอนด้า ผลิตออกมา เพื่อให้เป็นรถรุ่นที่มีขนาดเล็กมาก (Subcompact car) เริ่มผลิตตั้งแต่ พ.ศ. 2524 ประสบความสำเร็จมากในแถบเอเชีย รถรุ่นนี้ แรกเริ่มเดิมที จะผลิตเป็นรถ Hatchback (รถท้ายกุด ไม่มีกระโปรงหลัง เช่น แจ๊ซ หรือยาริส ในปัจจุบัน เป็นต้น) แต่ไม่ประสบความสำเร็จทางการตลาดเท่าใดนัก จึงได้เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นรถซีดาน (มีท้าย และกระโปรงหลัง) อย่างปัจจุบัน ปัจจุบัน ฮอนด้า ซิตี้ เป็นคู่แข่งทางธุรกิจกับยี่ห้ออื่นหลายรุ่น เช่น โตโยต้า วีออส, เชฟโรเลต อาวีโอ ฯลฯ ด้วยความที่เป็นรถขนาดเล็กคล้ายคลึงกัน และมีราคาใกล้เคียงกัน นับตั้งแต่เริ่มผลิตมา ฮอนด้า ซิตี้ ได้ทำออกมาทั้งหมด 5 generation (5 รุ่น) ตามช่วงเวลาได้ ดังนี้ Generation ที่ 1 (พ.ศ. 2524 - 2529) ฮอนด้า ซิตี้ โฉมที่ 1 ฮอนด้า ซิตี้ รุ่นแรก เริ่มผลิตเป็นรถ hatchback 3 ประตู (ซ้าย ขวา และหลัง) มีจุดเด่นตรงที่รถมีความสูงมาก และมีพื้นที่ภายในที่ดูกว้างขวาง ทั้งๆ ที่ดูภายนอกแล้วรถมีขนาดเล็ก ซิตี้รุ่นแรกนี้ มีกระแสตอบรับมากพอสมควร จนในปีถัดมา (พ.ศ. 2525) ซิตี้ก็เริ่มทำรถแบบ convertible (เปิดประทุนได้) และแบบรถสปอร์ต และอีกปีถัดมา (พ.ศ. 2526) ที่นิวซีแลนด์ ซิตี้ ได้เข้าไปแทนที่รถมินิ ในสายการผลิตของโรงงานผลิตรถยนต์ที่นั่น และในปีเดียวกัน ก็มีการส่งออกรถซิตี้ไปยังประเทศออสเตรเลียเป็นจำนวนมากเช่นกัน ในสองพวกมาเจอกัน ตอน The fighter devil police ก็นิยมใช้เป็นรถตำรวจศึกมาก

ฮอนด้า แจ๊ซ

ฮอนด้า แจ๊ซ ฮอนด้า แจ๊ซ (อังกฤษ: Honda Jazz) เป็นรถยนต์นั่งแบบแฮทช์แบ็ก 5 ประตู ผลิตโดยฮอนด้า เริ่มแนะนำครั้งแรกในเดือนมิถุนายน 2544 ในประเทศญี่ปุ่น ประเทศจีน และประเทศในแถบทวีปอเมริกาเหนือและใต้ จะเรียกว่า ฮอนด้า ฟิต (Honda Fit) ส่วนคำว่า ฮอนด้า แจ๊ซ จะใช้ใน ยุโรป บางประเทศในเอเชีย ออสเตรเลีย โอเชียเนีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกา นับถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 ฮอนด้าแจ๊ซ มียอดขายครบ 2 ล้านคัน ในระยะเวลา 6 ปี ฮอนด้า แจ๊ซ ได้ถูกพัฒนาให้มีรูปทรงคล้ายมินิแวนย่อส่วน บนพื้นฐานโครงสร้างใหม่ GLOBAL SMALL PLATFORM ของฮอนด้า ซึ่งพัฒนาการของรถฮอนด้า แจ๊ซ ปัจจุบันแบ่งเป็น 2 โฉม ได้แก่ Generation ที่ 1 (พ.ศ. 2544-2551) ฮอนด้า แจ๊ซ โฉมที่ 1 โฉมนี้ เป็นโฉมแรกของฮอนด้า แจ๊ซ ซึ่งปัจจุบันนี้ได้เพิ่งหยุดผลิตไปเมื่อไม่นานนี้ จัดเป็นรถขนาดเล็กมาก (Subcompact Car , Supermini) เครื่องยนต์ที่มีขายในประเทศไทย มี 2 รุ่น คือ 1.5 ลิตร i-DSI และ 1.5 ลิตร VTEC มีระบบเกียร์ 2 ระบบ คือ อัตโนมัติแบบ CVT และธรรมดา 5 สปีด มีตัวถังแบบเดียว คือ hatchback 5 ประตู มิติยาว 3.845 เมตร กว้าง 1.675 เมตร และสูง 1.525 เมตร หนัก 1,084 กิโลกรัม รถแจ๊ซโฉมนี้บางรุ่นขับเคลื่อน 4 ล้อ แต่ไม่มีขายในประเทศไทย มีเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น อเมริกา และยุโรป Generation ที่ 2 (พ.ศ. 2551-ปัจจุบัน) ฮอนด้า แจ๊ซ โฉมที่ 2 โฉมนี้ เป็นโฉมใหม่ล่าสุดของฮอนด้า แจ๊ซ เริ่มผลิตในญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2550 และเริ่มออกขายในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2551 เป็นรถขนาดเล็ก (Compact Car) โฉมนี้ เปิดตัวในประเทศไทยเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2551 ด้วยทริม 3 แบบ คือ SV, V, S โดยแบบ SV และ V มีเฉพาะระบบเกียร์อัตโนมัติ 5 สปีด แต่แบบ S จะมีทั้งเกียร์อัตโนมัติ 5 สปีด และเกียร์ธรรมดา 5 สปีด โดยรถเกียร์อัตโนมัติ จะมีราคาแพงกว่าเกียร์ธรรมดา 37,000 บาท มิติยาว 3.9 เมตร กว้าง 1.695 เมตร และสูง 1.525 เมตร หนัก 1,200 กิโลกรัม ฮอนด้า แจ๊ซ โฉมที่ 2 นี้ ได้รับรางวัลรถยนต์ยอดเยี่ยมแห่งปี (Thailand Car of the Year) ประจำปี 2009 ในประเภทรถยนต์นั่งแฮทช์แบ็ค ในรุ่นไม่เกิน 1,500 ซีซี (Best Hatchback under 1,500 cc.)

เบียร์

เบียร์ เบียร์ เป็นเมรัยหลายๆ รูปแบบที่ผ่านกระบวนการหมัก ผลิตภัณฑ์พวกธัญพืช ประวัติศาสตร์ของเบียร์นั้นมีมายาวนาน เบียร์เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอลชนิดแรกของโลก เริ่มผลิต 6,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยชนชาติ บาบิโลเนียน เบียร์เป็นที่รู้จักในสมัยอียิปต์โบราณและเมโสโปเตเมีย และมีหลักฐานย้อนไปยาวนานถึง 4,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยใช้ข้าวบาร์เลย์ เป็นวัตถุดิบ ในราว 1,000 ปีก่อนคริสตกาล ทีการผสมพืชอีกหนึ่งชนิดเข้าไปคือ ฮอปส์ ทำให้มีกลิ่นหอม, รสชาติขม และ สามารถรักษาคุณภาพของเบียร์ให้เก็บได้นานขึ้น แต่เบียร์เหล่านี้แตกต่างจากเบียร์ในปัจจุบัน และเนื่องจากเครื่องปรุงและกรรมวิธีในการผลิตเบียร์แตกต่างกันไปตามสถานที่ ลักษณะของเบียร์ (ชนิดของเบียร์, รสชาติ, และสี) จึงมีความแตกต่างกันได้มาก ประวัติการผลิตเบียร์ในประเทศไทย ประเทศไทยนั้น เริ่มมีการผลิตเบียร์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร) ได้ยื่นเรื่องขอจัดตั้งบริษัทผลิตเบียร์ขึ้นในปี พ.ศ. 2473 โดยจะใช้ปลายข้าวในการผลิตแทนข้าวมอลต์. ส่วนตัวโรงงานนั้นได้ถูกสร้างขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2476 ในย่านบางกระบือ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ภายใต้ชื่อบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด และทำการผลิตเบียร์ออกจำหน่ายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2477 ภายใต้เครื่องหมายการค้า ตราหมี ตราสิงห์แดง ตราสิงห์ขาว ตราแหม่ม ตราพระปรางค์ทอง ตราว่าวปักเป้า ตรากุญแจ ตรารถไฟ และ ที่ยังคงอยู่จนปัจจุบันนี้คือ ตราสิงห์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2504 มีโรงเบียร์แห่งที่สองเกิดขึ้น คือ บริษัทบางกอกเบียร์ ผลิตเบียร์ตราหนุมาน ตราแผนที่ และตรากระทิง แต่ไม่ได้รับความนิยมจากผู้ดื่มจึงได้เลิกกิจการไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2509 จึงได้เปลี่ยนเจ้าของกิจการและเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทไทยอมฤต บริวเวอรี่ จำกัด ผลิตเบียร์อมฤต และซื้อลิขสิทธิ์ยี่ห้อเบียร์จากต่างประเทศชื่อ คลอสเตอร์ มาผลิตเมื่อ พ.ศ. 2521 ภายหลังจากที่ประเทศไทยมีโรงงานเบียร์แห่งที่สองแล้ว ภาครัฐก็ไม่ได้มีการสนับสนุนให้มีการตั้งโรงงานเพิ่ม เนื่องจากเห็นว่าเบียร์เป็นสินค้าฟุ่มเฟือย และตั้งกำแพงภาษีเพื่อให้ความคุ้มครองกับผู้ผลิตในประเทศ จนกระทั่ง พ.ศ. 2535 ภาครัฐมีนโยบายเปิดเสรีทางการค้า โดยการเปลี่ยนเงื่อนไขของผู้ผลิตเบียร์ จากที่กำหนดให้ผู้ถือหุ้นใหญ่ต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย เป็นนิติบุคคลสัญชาติไทย เพื่อจูงใจให้นักลงทุนต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุนสร้างโรงงานในประเทศ ปัจจุบันกลุ่มบริษัทผู้ผลิตเบียร์ในประเทศไทย ได้แก่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ผู้ผลิตเบียร์ตราสิงห์ โรงงานอยู่ที่จังหวัดปทุมธานี ขอนแก่น และมีโครงการปลูกข้าวบาร์เลย์ โรงงานแปรรูปมอลท์อยู่ทางภาคเหนือ บริษัท ไทยอมฤต บริวเวอรี่ จำกัด ผู้ผลิตเบียร์ตราอมฤต เอ็นบี คลอสเตอร์ และรับผลิตเบียร์บัดไวเซอร์ จากสหรัฐอเมริกา ตั้งโรงงานอยู่ที่จังหวัดปทุมธานี ปัจจุบันถูกซื้อกิจการโดย ซาน มิเกล จากฟิลิปปินส์ เมื่อ พ.ศ. 2547 บริษัท คอสมอส บริวเวอรี่ (ประเทศไทย)จำกัด ผู้ผลิตเบียร์ตราช้าง ของกลุ่มนายเจริญ สิริวัฒนภักดีตั้งโรงงานอยู่ที่อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บริษัท เบียร์ทิพย์ บริวเวอรี่ (1991) จำกัด ผู้ผลิตเบียร์ตราช้าง ของกลุ่มนายเจริญ สิริวัฒนภักดีตั้งโรงงานอยู่ที่อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บริษัท เบียร์ไทย (1991) จำกัด ผู้ผลิตเบียร์ช้าง ของกลุ่มนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ตั้งโรงงานอยู่ที่จังหวัดกำแพงเพชร บริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด ผู้ผลิตเบียร์ไฮเนเก้น เบียร์จากประเทศเนเธอร์แลนด์ เริ่มวางจำหน่ายเมื่อเดือนกรกฎาคม 2538 ตั้งโรงงานอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี

พาหมาไปผ่าตัด

พาหมาไปผ่าตัด ผศ.น.สพ.ปานเทพ รัตนากร เมื่อเอ่ยถึงคำว่า “ผ่าตัด” ก็ให้รู้สึกเสียวสันหลังวาบไป ไม่ว่าจะเป็นการถูกผ่าตัดเองหรือพาใครไปรับการผ่าตัด แม้ว่าไม่ใช่ญาติพี่น้อง มนุษย์มนา แต่เป็น “หมา” ก็ยังมิวาย จะด้วยเหตุแห่งการกลัวคมมีด กลัวความเจ็บปวด กลัวเลือด หรือแม้แต่กลัวถูกวางยาแล้วจะไม่ฟื้น ฯลฯ นี่แหละล้วนทำให้เราขยาด พาลหลีกหนีการผ่าตัดให้ห่างๆ ละก็ดี แต่ความจำเป็นในเฉพาะอย่างยิ่งกับสัตว์เลี้ยงเช่นหมา นับจากการตอนเพื่อคุมกำเนิดทั้งหมาตัวผู้และตัวเมีย ไปจนถึงเพื่อการรักษาพยาบาลเช่น ผ่าตัดเอานิ่วออก ผ่าตัดเอามดลูกเป็นหนองทิ้ง ฯลฯ ฉะนั้นผมว่าน่าจะสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและวิธีการเตรียมตัวแก่เจ้าตูบให้เหมาะสมเพื่อเข้ารับการผ่าตัด ซึ่งไม่ใช่เรื่องยาก มิหนำซ้ำกลับช่วยป้องกันความผิดพลาด และอุบัติเหตุที่มิคาดฝันจากการผ่าตัดลงได้ ขั้นตอนที่จำเป็นมีดังนี้ 1) ความสะอาดร่างกาย เพื่อความสะดวกและสะอาดอย่างเต็มที่หากท่านจะทำความสะอาดร่างกายหมาเสียก่อนนำมาผ่าตัด เพราะจะเป็นการขจัดเชื้อโรคและสิ่งสกปรกออกไปส่วนหนึ่งก่อน ตลอดจนภายหลังผ่าตัดอีกไม่น้อยกว่า 7 วัน ที่หมาจะไม่สามารถถูกอาบน้ำได้ ท่านเพียงอาบน้ำทำความสะอาด ฟอก ขัด ถู บริเวณที่ต้องโดนคมมีดมากขึ้นเป็นพิเศษก็เพียงพอแล้ว 2) งดอาหารและน้ำ เฉกเช่นการผ่าตัดของคนเรา หมาก็ย่อมต้องวางยาสลบ ฉะนั้นจำต้องอดน้ำและอาหารเป็นเวลาอย่างน้อย 12 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด ทั้งนี้เพื่อป้องกันการอาเจียน สำลักเอาเศษอาหารเข้าหลอดลม ซึ่งอาจถึงกับเสียชีวิตได้เพราะสัตว์ไม่รู้สึกตัว ตลอดจนเป็นการลดความดันและแออัดในช่องท้องลง เพราะไม่มีอาหารในกระเพาะอาหาร และไม่มีฉี่ในกระเพาะปัสสาวะแล้ว ท่านเจ้าของต้องให้แน่ใจนะครับว่าหมาของท่านถูกอดจริงๆ บางรายนายอด บ่าวให้ หรือหมาแอบดอดไปกินเอง พอวางยาเท่านั้นแหละควักอาเจียน ช่วยหายใจกันแทบไม่ทัน 3) ดูแลหลังผ่าตัด ส่วนใหญ่เมื่อหมาหลังผ่าตัดเริ่มฟื้นก็ดีใจกันว่ารอดแล้ว สบายใจได้ หารู้ไม่ว่านั่นเป็นการเริ่มของภาระกิจหนักหนาอีกกว่า 7 วัน ท่านเจ้าของต้องเตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมการพยาบาลดูแลหมาดังนี้ 3.1 ป้องกันหมาแทะ แกะ เลียแผลผ่าตัด อันนี้สำคัญที่สุด บางตัวแทะจนแผลแตก ไส้ ไหลออกมาข้างนอกก็มี ฯลฯ ฉะนั้นต้องดูแลป้องกันอาจจะใช้ปลอกคอกันแทะ หรือสวมเสื้อรัดแผล ฯลฯ ลองปรึกษาสัตวแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดดู 3.2 อย่าให้แผลเปียกน้ำ สกปรก หมักหมมด้วยฉี่ และอึ 3.3 ระวังหมาตัวอื่นจะมาช่วยแทะ แกะ เลีย ควรแยกหมาป่วยไปพยาบาลในที่อื่นจนกว่า แผลจะหายดีแล้วจึงนำกลับมาเข้าพวก รวมฝูง 3.4 งดการกระโดดโลดเต้น ควรให้พักกิจกรรมไว้จนกว่าแผลผ่าตัดหายดี เป็นการป้อง กันแผลแตก หรือไม่ติด 3.5 กรณีผ่าช่องท้อง เช่น ตอนตัวเมีย ไม่ควรให้หมาขณะพักฟื้นกินอาหารจนอิ่มแน่น เกินไป แผลเย็บที่หน้าท้องอาจปริแตกได้ง่ายๆ 3.6 ป้อนยากิน ทายาที่แผล และปฏิบัติตามคำสั่งของหมออย่างเคร่งครัด ตลอดจนเมื่อถึงวันนัดหมายไปตรวจหรือตัดไหม ก็จงไปตามนัดอย่าผัดผ่อน โชคดีครับ

สุนทรภู่

26 มิถุนายน วันสุนทรภู่ สุนทรภู่ เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม ขอขอบคุณภาพประกอบจาก pantip.com โพสต์โดย คุณนายรถซุง ถ้าเอ่ยชื่อ "สุนทรภู่" เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักกวีชาวไทยที่มีชื่อเสียงก้องโลก โดยเฉพาะกลอนนิทานเรื่อง "พระอภัยมณี" จนได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านงานวรรณกรรม หรือ “มหากวีแห่งรัตนโกสินทร์" หรือ “เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย" และคงเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า "วันที่ 26 มิถุนายน" ของทุกปีคือ "วันสุนทรภู่" ซึ่งมักจะมีการจัดนิทรรศการ ประกวดแต่งคำกลอน เพื่อแสดงถึงการรำลึกถึง เพราะฉะนั้น วันนี้กระปุกดอทคอมจึงไม่พลาด ขอพาไปเปิดประวัติ "วันสุนทรภู่" ให้มากขึ้นค่ะ... ชีวประวัติ "สุนทรภู่" สุนทรภู่ กวีสำคัญสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เกิดวันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลา 2 โมงเช้า หรือตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 เวลา 8.00 น. นั่นเอง ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ณ บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง (บริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบัน) บิดาของท่านเป็นชาวกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ชื่อพ่อพลับ ส่วนมารดาเป็นชาวเมืองฉะเชิงเทรา ชื่อแม่ช้อย สันนิษฐานว่ามารดาเป็นข้าหลวงอยู่ในพระราชวังหลัง เชื่อว่าหลังจากสุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าร้างกัน บิดาออกไปบวชอยู่ที่วัดป่ากร่ำ ตำบลบ้านกร่ำ อำเภอแกลง อันเป็นภูมิลำเนาเดิม ส่วนมารดาได้เข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง ถวายตัวเป็นนางนมของพระองค์เจ้าหญิงจงกล พระธิดาในเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ดังนั้น สุนทรภู่จึงได้อยู่ในพระราชวังหลังกับมารดา และได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง ซึ่งสุนทรภู่ยังมีน้องสาวต่างบิดาอีกสองคน ชื่อฉิมและนิ่ม อีกด้วย "สุนทรภู่" ได้รับการศึกษาในพระราชวังหลังและที่วัดชีปะขาว (วัดศรีสุดาราม) ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นเสมียนนายระวางกรมพระคลังสวน ในกรมพระคลังสวน แต่ไม่ชอบทำงานอื่นนอกจากแต่งบทกลอน ซึ่งสามารถแต่งได้ดีตั้งแต่ยังรุ่นหนุ่ม เพราะตั้งแต่เยาว์วัยสุนทรภู่มีนิสัยรักแต่งกลอนยิ่งกว่างานอื่น ครั้งรุ่นหนุ่มก็ไปเป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่วัดศรีสุดารามในคลองบางกอกน้อย ได้แต่งกลอนสุภาษิตและกลอนนิทานขึ้นไว้ เมื่ออายุราว 20 ปี ต่อมาสุนทรภู่ลอบรักกับนางข้าหลวงในวังหลังคนหนึ่ง ชื่อแม่จัน ซึ่งเป็นบุตรหลานผู้มีตระกูล จึงถูกกรมพระราชวังหลังกริ้วจนถึงให้โบยและจำคุกคนทั้งสอง แต่เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. 2349 จึงมีการอภัยโทษแก่ผู้ถูกลงโทษทั้งหมดถวายเป็นพระราชกุศล หลังจากสุนทรภู่ออกจากคุก เขากับแม่จันก็เดินทางไปหาบิดาที่ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง และมีบุตรด้วยกัน 1 คน ชื่อ “พ่อพัด” ได้อยู่ในความอุปการะของเจ้าครอกทองอยู่ ส่วนสุนทรภู่กับแม่จันก็มีเรื่องระหองระแหงกันเสมอ จนภายหลังก็เลิกรากันไป หลังจากนั้น สุนทรภู่ ก็เดินทางเข้าพระราชวังหลัง และมีโอกาสได้ติดตามพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ในฐานะมหาดเล็ก ตามเสด็จไปในงานพิธีมาฆบูชา ที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2350 และเขาก็ได้แต่ง “นิราศพระบาท” พรรณนาเหตุการณ์ในการเดินทางคราวนี้ด้วย และหลังจาก “นิราศพระบาท” ก็ไม่ปรากฏผลงานใดๆ ของสุนทรภู่อีกเลย จนกระทั่งเข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2359 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์ และเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จนแต่งตั้งให้เป็นกวีที่ปรึกษาและคอยรับใช้ใกล้ชิด เนื่องจากเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงแต่งกลอนบทละครในเรื่อง "รามเกียรติ์" ติดขัดไม่มีผู้ใดต่อกลอนได้ต้องพระราชหฤทัย จึงโปรดให้สุนทรภู่ทดลองแต่ง ปรากฏว่าแต่งได้ดีเป็นที่พอพระทัย จึงทรงพระกรุณาฯ เลื่อนให้เป็น "ขุนสุนทรโวหาร" ต่อมาในราว พ.ศ. 2364 สุนทรภู่ต้องติดคุกเพราะเมาสุราอาละวาดและทำร้ายท่านผู้ใหญ่ แต่ติดอยู่ไมนานก็พ้นโทษ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงติดขัดบทพระราชนิพนธ์เรื่อง "สังข์ทอง" ไม่มีใครแต่งได้ต้องพระทัย ทรงให้สุนทรภู่ทดลองแต่งก็เป็นที่พอพระราชหฤทัยภายหลังพ้นโทษ สุนทรภู่ได้เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 และ เชื่อกันว่าสุนทรภู่แต่งเรื่อง "สวัสดิรักษา" ในระหว่างเวลานี้ ซึ่งในระหว่างรับราชการอยู่นี้ สุนทรภู่แต่งงานใหม่กับแม่นิ่ม มีบุตรด้วยกันหนึ่งคน ชื่อ "พ่อตาบ "สุนทรภู่" รับราชการอยู่เพียง 8 ปี เมื่อถึงปี พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต หลังจากนั้นสุนทรภู่ก็ออกบวชที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) อยู่เป็นเวลา 18 ปี ระหว่างนั้นได้ย้ายไปอยู่วัดต่างๆ หลายแห่ง ได้แก่ วัดเลียบ, วัดแจ้ง, วัดโพธิ์, วัดมหาธาตุ และวัดเทพธิดาราม ซึ่งผลจากการที่ภิกษุภู่เดินทางธุดงค์ไปที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ปรากฏผลงานเป็นนิราศเรื่องต่างๆ มากมาย งานเขียนชิ้นสุดท้ายที่ภิกษุภู่แต่งไว้ก่อนลาสิกขาบท คือ รำพันพิลาป โดยแต่งขณะจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม พ.ศ. 2385 ทั้งนี้ ระหว่างที่ออกเดินทางธุดงค์ ภิกษุภู่ได้รับการอุปการะจากพระองค์เจ้าลักขณานุคุณจนพระองค์ประชวรสิ้นพระชมน์ สุนทรภู่จึงลาสิกขาบท รวมอายุพรรษาที่บวชได้ประมาณ 10 พรรษา สุนทรภู่ออกมาตกระกำลำบากอยู่พักหนึ่งจึงกลับเข้าไปบวชอีกครั้งหนึ่ง แต่อยู่ได้เพียง 2 พรรษา ก็ลาสิกขาบท และถวายตัวอยู่กับเจ้าฟ้าน้อย หรือสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ พระราชวังเดิม รวมทั้งได้รับอุปการะจากกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพอีกด้วย ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ครองราชย์ ทรงสถาปนาเจ้าฟ้า กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่วังหน้า (พระบวรราชวัง) สุนทรภู่จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระสุนทรโวหาร" ตำแหน่งเจ้ากรมพระอาลักษณ์ฝ่ายบวรราชวังในปี พ.ศ. 2394 และรับราชการต่อมาได้ 4 ปี ก็ถึงแก่มรณกรรมใน พ.ศ. 2398 รวมอายุได้ 70 ปี ในเขตพระราชวังเดิม ใกล้หอนั่งของพระยามนเทียรบาล (บัว) ที่เรียกชื่อกันว่า "ห้องสุนทรภู่" สำหรับทายาทของสุนทรภู่นั้น เชื่อกันว่าสุนทรภู่มีบุตรชาย 3 คน คือ"พ่อพัด" เกิดจากภรรยาคนแรกคือแม่จัน "พ่อตาบ" เกิดจากภรรยาคนที่สองคือแม่นิ่ม และ "พ่อนิล" เกิดจากภรรยาที่ชื่อแม่ม่วง นอกจากนี้ ปรากฏชื่อบุตรบุญธรรมอีกสองคน ชื่อ "พ่อกลั่น" และ "พ่อชุบ" อย่างไรก็ตาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น และตระกูลของสุนทรภู่ได้ใช้นามสกุลต่อมาว่า "ภู่เรือหงส์" ผลงานของสุนทรภู่ หนังสือบทกลอนของสุนทรภู่มีอยู่มาก เท่าที่ปรากฏเรื่องที่ยังมีฉบับอยู่ในปัจจุบันนี้คือ… ประเภทนิราศ - นิราศเมืองแกลง (พ.ศ. 2349) - แต่งเมื่อหลังพ้นโทษจากคุก และเดินทางไปหาพ่อที่เมืองแกลง - นิราศพระบาท (พ.ศ. 2350) - แต่งหลังจากกลับจากเมืองแกลง และต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรีในวันมาฆบูชา - นิราศภูเขาทอง (ประมาณ พ.ศ. 2371) - แต่งโดยสมมุติว่า เณรหนูพัด เป็นผู้แต่งไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทองที่จังหวัดอยุธยา - นิราศสุพรรณ (ประมาณ พ.ศ. 2374) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผลงานเรื่องเดียวของสุนทรภู่ที่แต่งเป็นโคลง - นิราศวัดเจ้าฟ้า (ประมาณ พ.ศ. 2375) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะตามลายแทงที่วัดเจ้าฟ้าอากาศ (ไม่ปรากฏว่าที่จริงคือวัดใด) ที่จังหวัดอยุธยา - นิราศอิเหนา (ไม่ปรากฏ, คาดว่าเป็นสมัยรัชกาลที่ 3) แต่งเป็นเนื้อเรื่องอิเหนารำพันถึงนางบุษบา - รำพันพิลาป (พ.ศ. 2385) - แต่งเมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม แล้วเกิดฝันร้ายว่าชะตาขาด จึงบันทึกความฝันพร้อมรำพันความอาภัพของตัวไว้เป็น "รำพันพิลาป" จากนั้นจึงลาสิกขาบท - นิราศพระประธม (พ.ศ. 2385) –เชื่อว่าแต่งเมื่อหลังจากลาสิกขาบทและเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปนมัสการพระประธมเจดีย์ (หรือพระปฐมเจดีย์) ที่เมืองนครชัยศรี - นิราศเมืองเพชร (พ.ศ. 2388) - แต่งเมื่อเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เชื่อว่าไปธุระราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง นิราศเรื่องนี้มีฉบับค้นพบเนื้อหาเพิ่มเติมซึ่ง อ.ล้อม เพ็งแก้ว เชื่อว่า บรรพบุรุษฝ่ายมารดาของสุนทรภู่เป็นชาวเมืองเพชร ประเภทนิทาน เรื่องโคบุตร, เรื่องพระอภัยมณี, เรื่องพระไชยสุริยา, เรื่องลักษณวงศ์, เรื่องสิงหไกรภพ พระอภัยมณี พระอภัยมณี สุดสาคร สุดสาคร ประเภทสุภาษิต - สวัสดิรักษา- คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 2 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้าอาภรณ์ - สุภาษิตสอนหญิง - เป็นหนึ่งในผลงานซึ่งยังเป็นที่เคลือบแคลงว่า สุนทรภู่เป็นผู้ประพันธ์จริงหรือไม่ - เพลงยาวถวายโอวาท - คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้ากลางและเจ้าฟ้าปิ๋ว ประเภทบทละคร - เรื่องอภัยณุรา ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เพื่อถวายพระองค์เจ้าดวงประภา พระธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเภทบทเสภา - เรื่องขุนช้างขุนแผน (ตอนกำเนิดพลายงาม) - เรื่องพระราชพงศาวดาร ประเภทบทเห่กล่อม แต่งขึ้นสำหรับใช้ขับกล่อมหม่อมเจ้าในพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ กับพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เท่าที่พบมี 4 เรื่องคือ เห่จับระบำ, เห่เรื่องพระอภัยมณี, เห่เรื่องโคบุตร เห่เรื่องพระอภัยมณี, เห่เรื่องกากี ตัวอย่างวรรคทองที่มีชื่อเสียงของสุนทรภู่ ด้วยความที่สุนทรภู่เป็นศิลปินเอกที่มีผลงานทางวรรณกรรม วรรณคดีมากมาย ทำให้ผลงานหลาย ๆ เรื่องของ สุนทรภู่ ถูกนำไปเป็นบทเรียนให้เด็กไทยได้ศึกษา จึงทำให้มีหลาย ๆ บทประพันธ์ที่คุ้นหู หรือ "วรรคทอง" ยกตัวอย่างเช่น บางตอนจาก นิราศภูเขาทอง ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าเป็นน่าอาย ทำบุญบวชกรวดน้ำขอสำเร็จ สรรเพชญโพธิญาณประมาณหมาย ถึงสุราพารอดไม่วอดวาย ไม่ใกล้กรายแกล้งเมินก็เกินไป ไม่เมาเหล้าแล้วแต่เรายังเมารัก สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป แต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืนฯ ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา บางตอนจาก นิราศอิเหนา จะหักอื่นขืนหักก็จักได้ หักอาลัยนี้ไม่หลุดสุดจะหัก สารพัดตัดขาดประหลาดนัก แต่ตัดรักนี้ไม่ขาดประหลาดใจ บางตอนจาก พระอภัยมณี บัดเดี๋ยวดังหงั่งเหง่งวังเวงแว่ว สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา ประคองพาขึ้นไปจนบนบรรพต แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน (พระฤาษีสอนสุดสาคร) แม้นใครรักรักมั่งชังชังตอบ ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา รู้สิ่งไรไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี (พระฤาษีสอนสุดสาคร) อันนินทากาเลเหมือนเทน้ำ ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดมากรีดหิน แค่องค์พระปฎิมายังราคิน คนเดินดินหรือจะสิ้นคนนินทา เขาย่อมเปรียบเทียบความว่ายามรัก แต่น้ำผักต้มขมชมว่าหวาน ครั้นรักจางห่างเหินไปเนิ่นนาน แต่น้ำตาลว่าเปรี้ยวไม่เหลียวแล ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน แม้เกิดในใต้ฟ้าสุธาธาร ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา แม้เนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา แม้เป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา เชยผกาโกสุมประทุมทอง แม้เป็นถ้ำอำไพใคร่เป็นหงส์ จะร่อนลงสิงสู่เป็นคู่สอง ขอติดตามทรามสงวนนวลละออง เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป (ตอน พระอภัยมณีเกี้ยวนางละเวง ได้ถูกนำไปดัดแปลงเล็กน้อยกลายเป็นเพลง "คำมั่นสัญญา") บางตอนจาก เพลงยาวถวายโอวาท อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ ประเสริฐสุดซ่อนใส่เสียในฝัก สงวนคมสมนึกใครฮึกฮัก จึงค่อยชักเชือดฟันให้บรรลัย อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย แม้นเจ็บอื่นหมื่นแสนจะแคลนคลาย เจ็บจนตายเพราะเหน็บให้เจ็บใจ บางตอนจาก สุภาษิตสอนหญิง มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์ จงมักน้อยกินน้อยค่อยบรรจง อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน จะพูดจาปราศรัยกับใครนั้น อย่าตะคั้นตะคอกให้เคืองหู ไม่ควรพูดอื้ออึ้งขึ้นมึงกู คนจะหลู่ล่วงลามไม่ขามใจ เป็นมนุษย์สุดนิยมเพียงลมปาก จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา แม้นพูดดีมีคนเขาเมตตา จะพูดจาพิเคราะห์ให้เหมาะความ รู้วิชาก็ให้รู้เป็นครูเขา จึงจะเบาแรงตนช่วยขนขวาย มีข้าไทใช้สอย ค่อยสบาย ตัวเป็นนายโง่เง่าบ่าวไม่เกรง บางตอนจาก ขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม แม่รักลูก ลูกก็รู้ อยู่ว่ารัก ใครอื่นสัก หมื่นแสน ไม่แม้นเหมือน จะกินนอนวอนว่า เมตตาเตือน จะจากเรือน ร้างแม่ ก็แต่กาย ลูกผู้ชายลายมือนั้นคือยศ เจ้าจงอตส่าห์ทำสม่ำเสมียน (ขุนแผนสอนพลายงาม) บางตอนจาก นิราศภูเขาทอง ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจาฯ บางตอนจาก นิราศพระบาท เจ้าของตาลรักหวานขึ้นปีนต้น เพราะดั้นด้นอยากลิ้มชิมรสหวาน ครั้นได้รสสดสาวจากจาวตาล ย่อมซาบซ่านหวานซึ้งตรึงถึงทรวง ไหนจะยอมให้เจ้าหล่นลงเจ็บอก เพราะอยากวกขึ้นลิ้นชิมของหวง อันรสตาลหวานละม้ายคล้ายพุ่มพวง พี่เจ็บทรวงช้ำอกเหมือนตกตาล... ที่มาของวันสุนทรภู่ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(UNESCO) ซึ่งเป็นผู้ที่มีหน้าที่ส่งเสริมและเผยแพร่ผลงาน ด้านวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกต่างๆ ทั่วโลก ด้วยการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก ในวาระครบรอบ 100 ปีขึ้นไป ประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณและผลงานของผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลกให้ปรากฎแก่มวลสมาชิกทั่วโลก และเพื่อเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองร่วมกับประเทศที่มีผู้ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ ในการนี้ รัฐบาลไทยโดยคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ จะเป็นผู้สืบค้นบรรพบุรุษไทยผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม เพื่อให้ยูเนสโกประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติและได้ประกาศยกย่อง "สุนทรภู่" ให้เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก โดยในวาระครบรอบ 200 ปีเกิด เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2529 ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินการจัดตั้งสถาบันสุนทรภู่ขึ้น เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับชีวิตและงานของสุนทรภู่ ให้แพร่หลายในหมู่เยาวชนและประชาชนชาวไทยมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ทางรัฐบาลจึงได้กำหนดให้ วันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปีเป็น "วันสุนทรภู่" ซึ่งนับแต่นั้น เมื่อถึงวันสุนทรภู่ จะมีการจัดงานรำลึกถึงสุนทรภู่ตามสถานที่ต่างๆ เช่น ที่พิพิธภัณฑ์สุนทรภู่ "วัดเทพธิดาราม" และ ที่จังหวัดระยอง และมีการจัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติคุณและส่งเสริมศิลปะการประพันธ์บทกวีจากองค์กรต่างๆ โดยทั่วไป ทั้งนี้ ผลงานของสุนทรภู่ยังเป็นที่นิยมในสังคมไทยอย่างต่อเนื่องตลอดมาไม่ขาดสาย และมีการนำไปดัดแปลงเป็นสื่อต่างๆ เช่น หนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์ เพลง รวมถึงละคร มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์สุนทรภู่ ไว้ที่ ตำบลบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นบ้านเกิดของบิดาของสุนทรภู่ และเป็นกำเนิดผลงานนิราศเรื่องแรกของท่านคือ นิราศเมืองแกลง กิจกรรมที่ควรปฏิบัติ ในวันสุนทรภู่ 1. มีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติชีวิตและผลงาน 2. มีการแสดงผลงานประเภทนิทานฯ ของสุนทรภู่ 3. มีการประกวด แข่งขัน ประชันสักวา ตอบคำถามเกี่ยวกับประวัติชีวิต และผลงานของสุนทรภู่

วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555

จี่หอย

จี่หอย.....เป็นภาษาอีสาน แปลได้ว่า นำหอยนั้นมาล้างให้สะอาด ก่อกองไฟถ่านแดงๆ ได้ที่ก็นำหอยนั้นมาทิ้งใส่ถ่านไฟแดงนั้น เขาเรียกกันว่า “จี่” เพราะ ถ้าย่าง ก็คือย่าง...จี่ คืออาการ ทิ้งใส่ไฟโลด...(ภาษาอีสานวันละคำ)

หอยที่บ้านนอก แถบๆ อุบลบ้านข้อย...ถ้าหอย หน้าฝน ก็มีหอยจุ๊บ(หอยขม) ซึ่งจะอยู่ตามหนองน้ำ ลำคลอง ลำห้วยทั่วๆไปที่มีคลอง

.



.



และ หอยกี้หอยกาบ (คล้ายๆหอยแมลงภู่) เวลาเก็บหอยกี้นี้ สังเกตว่า เขาจะมีรูเล็กโผล่ผิวดินที่เลียบๆชายฝั่งคลอง ถ้าน้ำใสๆมองเห็นได้ ถ้าน้ำขุ่นๆ ก็ใช้มืองมๆควานหาเอาค่ะ

.



.


นอกจาก หอยจุ๊บ หอยกี้ และ ก็มีสารพัดหอยเลยล่ะ อร่อยทั้งนั้น สารพัดเมนู แต่เอามาจี่นี่ มันจะหอมมากๆ เหมือนปลาเผา กุ้งเผานั่นล่ะค่ะ แต่นี่ เป็น “หอยจี่ หรือ จี่หอยนั่นเอง”

.



หอยเดื่อ





พอหน้าแล้ง ก็จะมี หอยอร่อยและต้องลำบากหา คือ หอยเดื่อ เจ้าหอยเดื่อนี่คือภาษาแถวอุบลเขาเรียกกันค่ะ มันจะไปจำศีลอยู่ในโพรงไม้ หรือ จอมปลวกเก่าๆ ต้องจะขุด ไปแหย่ตามโพรงค่ะ หน้าแล้งเนี่ย หอยนี้จะอร่อยมากเพราะมันมีไข่ค่ะ เขาขายกันแพงเหมือนกัน ซึ่งมันจะมีรูปร่างใหญ่กว่าหอยทั่วๆไป

พูดมาก็อยากกินสารพัดหอยแล้วสิคะ ฟังเพลงแนวบ้านๆของปองอีกวันเด้อค่ะ...(พูดมาทั้งหมด แค่จะเปิดเพลงฟัง)

.



.

วันแม่

วันแม่ เป็นวันที่สำคัญในหลายประเทศทั่วโลกจัดขึ้นเพื่อให้เกียรติแม่และความเป็นแม่ ในประเทศไทยวันแม่แห่งชาติ ตรงกับวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี ในประเทศอื่นทั่วโลกวันแม่จะอยู่ในช่วง เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ส่วนในอังกฤษและไอร์แลนด์วันแม่ถูกจัดขึ้นต่อจากวันอาทิตย์แห่งความเป็นแม่ซึ่งเป็นวันสำคัญของศาสนาคริสต์

วันสำคัญที่ให้ระลึกถึงความเป็นพ่อถูกเรียกว่าวันพ่อ

เนื้อหา [ซ่อน]
1 ประวัติ
2 วันแม่ในประเทศต่าง ๆ
2.1 ประเทศญี่ปุ่น
2.2 ประเทศไทย
2.3 วันแม่นานาชาติ
3 ดูเพิ่ม
4 เชิงอรรถ
5 อ้างอิง


[แก้] ประวัติในวานเปตรยุคโรมันโบราณมีวันหยุดที่คล้ายกันคือ มาโตรนาเลีย ซึ่งเป็นวันที่ระลึกถึงเทพีจูโน เทพีผู้พิทักษ์ ส่วนในยุโรปมีประวัติเกี่ยวกับวันแม่ที่หลากหลาย ตัวอย่างเช่น วันอาทิตย์แห่งความเป็นแม่ (Mothering Sunday) ซึ่งเป็นวันสำคัญของศาสนาคริสต์ ในสหรัฐอเมริกาได้มีการผลักดันให้มีการฉลองวันแม่ภายหลังสงครามกลางเมืองอเมริกัน โดย จูเลีย วอร์ด ฮาว โดยมีความเชื่อว่าเพศหญิงเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสร้างสังคม วันผู้หญิงนานาชาติได้มีการเฉลิมฉลองครั้งแรกเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452 ในสหรัฐอเมริกา[1] ซึ่งในเวลาใกล้เคียงกัน แอนนา ยาร์วิสได้เริ่มผลักดันให้มีการเฉลิมฉลองวันแม่ในสหรัฐอเมริกา

[แก้] วันแม่ในประเทศต่าง ๆประเทศอื่น ๆ ก็มีการกำหนดวันแม่ไว้เช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ใช้วันอาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคม ประเทศรัสเซียใช้วันที่ 28 พฤศจิกายน เป็นต้น ทั้งนี้บางประเทศมีการเฉลิมฉลองในวันสตรีสากล

[แก้] ประเทศญี่ปุ่นในญี่ปุ่น ปี 1931 (หรือปีโชวะที่ 6) องค์กร สตรีสูงสุดของญี่ปุ่นได้ตั้ง วันที่ 06 มีนาคม ซึ่งเป็นวันฉลองพระราชสมภพ ของ พระราชินี คาโอรุ มาโคโตะ (Empress Kaoru Makoto) เป็น "วันแม่" ต่อมาในปี 1937 วันที่ 5 พฤษภาคม (หรือปีโชวะที่12 ) และได้เปลี่ยนแปลงอีกครั้งเมื่อ (ได้รับการสนับสนุนโดยคณะกรรมการกลางให้จัดตั้งวันแม่) ขึ้นใหม่ในปี 1949 (หรือปีโชวะที่24 ) โดยมาจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่สองในเดือนพฤษภาคม ตามประเทศสหรัฐอเมริกาและอีกหลายๆประเทศ

ทั้งนี้ วันเด็ก 5 พฤษภาคม เป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ (วันหยุดแห่งชาติตามกฎหมาย) "เพื่อให้เด็กได้มีความสุขกับครอบครัวและ ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อขอบคุณแม่ที่ทำให้เราได้เกิดมาอีกด้วย

ในวันแม่ ปกติประเทศญี่ปุ่นจะให้ดอกคาร์เนชั่นแต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ ไม่เพียงดอกคาร์เนชั่นเท่านั้น แต่ดอกกุหลาบสีชมพูและดอกเยอบิร่า ก็ให้ได้เช่นกัน

[แก้] ประเทศไทยดูบทความหลักที่ วันแม่แห่งชาติ (ประเทศไทย)
ในประเทศไทย เดิมมีการจัดงานวันแม่ โดยสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 15 เมษายน ของทุกปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2493 ตามมติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 ในคณะรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม[2] ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ได้เปลี่ยนมาเป็นวันที่ 12 สิงหาคม ตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พร้อมกับได้กำหนดให้ดอกมะลิเป็นดอกไม้สัญลักษณ์แทนวันแม่ เนื่องจากเป็นดอกไม้ที่มีสีขาว มีกลิ่นหอมและออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูก[3]

วันพ่อ

วันพ่อแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเป็น วันชาติ อีกด้วย

กิจกรรมวันพ่อแห่งชาติจัดติดต่อกันทุกปีตั้งแต่ พ.ศ. 2523 โดยการริเริ่มของนายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา คุณหญิงเนื้อพิทย์ เสมรสุต สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันพ่อได้แก่ ดอกพุทธรักษา ซึ่งมีชื่ออันเป็นมงคล

[แก้] ประวัติวันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา หลักการและเหตุผลที่มีการจัดตั้งวันพ่อขึ้นแห่งชาติ เนื่องจากพ่อ เป็นบุคคลผู้มีพระคุณและมีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคมที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนและตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสังคมควรที่จะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเป็น "วันพ่อแห่งชาติ"

[แก้] วัตถุประสงค์เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม
เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อ
เพื่อให้ผู้เป็นพ่อ สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน
[แก้] ดูเพิ่ม

ไกรทอง

กาลครั้งหนึ่ง มีถ้ำทองเป็นที่อยู่ของจระเข้ ในถ้ำมีลูกแก้ววิเศษที่ส่องแสงดุจเวลากลางวัน จระเข้ทุกตัวที่เข้ามาในถ้ำจะกลายเป็นมนุษย์ มีท้าวรำไพ เป็นจระเข้เฒ่าผู้ทรงศีล ไม่กินเนื้อมนุษย์และสัตว์ มีบุตรชื่อ ท้าวโคจร และท้าวโคจรมีบุตรชื่อ ชาละวัน วันหนึ่ง ท้าวโคจร เกิดทะเลาะวิวาทกับท้าวพันตาและพญาพันวัง จระเข้ทั้งสามต่อสู้เพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ สุดท้ายทั้งสามก็จบชีวิตลงจากบาดแผลที่เกิดจากการสู้รบกัน
หลังจากนั้น พญาชาละวัน บุตรของท้าวโคจร ก็ได้ขึ้นเป็นผู้ปกครองถ้ำบาดาลโดยไม่ไม่ใครกล้าท้าทายอำนาจ และได้จระเข้สาวสองตัวเป็นเมียคือ วิมาลา กับ เลื่อมลายวรรณ ด้วยความลุ่มหลงในอำนาจ ชาละวันจึงมีนิสัยดุร้าย และต้องการกินเนื้อมนุษย์ และไม่รักษาศีลเหมือนท้าวรำไพผู้เป็นปู่แต่อย่างใด เพราะถือว่าตนเป็นผู้ปกครองถ้ำ มีอำนาจอยากจะทำอะไรก็ได้


ณ เมืองพิจิตร มีพี่น้องคู่หนึ่ง ชื่อนางตะเภาแก้ว ผู้พี่ และนางตะเภาทอง ผู้น้อง ทั้งสองเป็นบุตรเศรษฐี วันหนึ่งทั้ง 2 ลงไปเล่นน้ำในคลองที่ท่าน้ำหน้าบ้าน กับบ่าวไพร่ด้วยความสนุกสนานอีกหลายคน ในเวลานั้นเจ้าชาละวัน ซึ่งกลายร่างเป็นจระเข้ยักษ์นิสัยอันธพาล ได้ออกจากถ้ำอาละวาดล่าหามนุษย์เป็นเหยื่อ สร้างความวุ่นวายไปทั่วเมือง และได้ว่ายน้ำผ่านมาเห็นตะเภาทองที่แม่น้ำหน้าท่านเศรษฐี ก็เกิดความลุ่มหลงทันทีจึงคาบนางแล้วดำดิ่งไปยังถ้ำทองด้วยความเหิมลำพอง
เมื่อนางตะเภาทองฟื้นขึ้นมา ก็ตกตะลึกในความสวยของถ้ำ และได้เห็นพญาชาละวัน ซึ่งกลายร่างเป็นชายรูปงาม เจ้าชาละวันก็เกี้ยวพาราสีแต่นางไม่สนใจ ชาละวันจึงใช้เวทมนตร์สะกดให้นางหลงรักและยอมเป็นภรรยา เมียของชาละวันคือ วิมาลา และเลื่อมลายวรรณ เห็นก็ไม่พอใจและหึงหวงแต่ก็ห้ามสามีไม่ได้
ท่านเศรษฐีเสียใจมาก จึงประกาศไปว่าใครที่พบศพนางตะเภาทอง และสามารถปราบจระเข้ตัวนี้ได้จะมอบสมบัติของตนเองให้ครึ่งหนึ่ง และจะให้แต่งงานกับนางตะเภาแก้ว..และแล้วก็ได้ ไกรทอง หนุ่มรูปหล่อจากเมืองนนทบุรี ซึ่งได้ร่ำเรียนวิชาการปราบจระเข้จากอาจารย์คง จนมีความเก่งกล้า ฤทธิ์อาคมแกร่ง ได้รับอาสามาปราบเจ้าชาละวัน ..
ก่อนพบเจอเหตุร้าย เจ้าชาละวันได้นอนฝันว่า มีไฟลุกไหม้และน้ำท่วมทะลักเข้าถ้ำ เกิดแผ่นดินไหวแปรปรวน ทันดใดนั้น! ปรากฏร่างเทวดาฝันคอชาละวันขาดกระเด็น จึงได้นำความฝันไปบอกกล่าวกับปู่ท้าวรำไพ เพราะเหตุการณ์ในความฝันเป็นลางร้าย เจ้าชาละวันต้องจำศีลในถ้ำ 7 วัน ถ้าออกไปนอกถ้ำจะพบภัยพิบัติถึงชีวิต วิมาลาจึงรับสั่งให้บริวารจระเข้คาบก้อนหินมาปิดปากถ้ำเอาไว้ เพื่อไม่ให้มนุษย์เข้ามาในถ้ำได้

..รุ่งเช้าไกรทองเริ่มตั้งพิธีบวงสรวงพร้อมท่องคาถา ทำให้เจ้าชาละวันเกิดอาการร้อนลุ่ม วิมาลาได้แต่คอยปลอบใจให้ชาละวันอดทนเข้าไว้ แต่สุดท้ายชาละวันก็ต้องออกจากถ้ำ แปลงกายเป็นจระเข้ขึ้นมาบนผิวน้ำเพื่อต่อสู้กับไกรทอง การต่อสู้ของคนกับจระเข้จึงเริ่มขึ้นไกรทองกระโดดขึ้นบนหลังจระเข้ชาละวันอย่างรวดเร็วและแทงด้วยหอกสัตตโลหะ ทำให้อาคมของเขี้ยวเพชรเสื่อม หอกอาคมได้ทิ่มแทงชาละวันจนบาดเจ็บสาหัส และมันได้รีบหนีกลับไปที่ถ้ำทองทันที
แต่ไกรทองก็ใช้เทียนระเบิดน้ำเปิดทางน้ำ ตามลงไปที่ถ้ำทันที วิมาลาและเลื่อมลายวรรณต้องการของร้องให้ปู่ท้าวรำไพช่วย แต่ท้าวรำไพก็ไม่สามารถช่วยได้ เมื่อมาถึงถ้ำไกรทองได้พบกับ วิมาลา ด้วยความเจ้าชู้จึงเกี้ยวพาราสีจนนางใจอ่อนยอมเป็นชู้ จนนางตกใจวิ่งหนีเข้าถ้ำ ไกรทองจึงตามนางไป ส่วนชาละวันที่นอนบาดเจ็บอยู่ก็รีบออกมาจากที่ซ่อนตัวและได้ต่อสู้กับไกรทองต่อในถ้ำ จนเจ้าชาละวันสู้ไม่ไหวในที่สุดก็พลาดเสียท่าถูกแทงจนสิ้นใจตายตรงนั้น(บางสำนวนก็บอกว่า เจ้าชาละวันถูกหอกอาคมของไกรทองแทงกลางหลัง แล้วร่างก็เปลี่ยนเป็นจระเข้ยักษ์นอนตายอยู่กลางถ้ำทอง) และไกรทองก็ได้พานางตะเภาทองกลับขึ้นมา เศรษฐีดีใจมากที่ลูกสาวยังไม่ตาย จึงจัดงานแต่งงานให้ไกรทองกับนางตะเภาแก้ว พร้อมมอบสมบัติให้ครึ่งหนึ่ง แถมนางตะเภาทองให้อีกคน


ใจของไกรทองกลับนึกถึงนางวิมาลา จึงไปหาอยู่กินด้วย โดยทำพิธีทำให้นางยังคงเป็นมนุษย์แม้ออกนอกถ้ำทอง นางตะเภาแก้วและนางตะเภาทอง จับได้ว่า สามีไปมาหาสู่ นางจระเข้จึงไปหาเรื่องกับนางในร่างมนุษย์จนนางวิมาลาทนไม่ไหวกลับ ร่างเป็นจระเข้และไกรทองต้องออกไปห้ามไม่ให้เมียตีกันและอำลาจากนางวิมาลาด้วยใจอาวรณ์ สุดท้ายไกรทองก็ปรับความเข้าใจได้กับทั้งสองฝ่าย ทั้งมนุษย์และจระเข้อยู่อย่างสันติ

[แก้] ตำนานจระเข้ชาละวันชาละวัน เป็นจระเข้ใหญ่เลื่องชื่อแห่งแม่น้ำน่านเก่าเมืองพิจิตร สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นในสมัยที่พิจิตรมีเจ้าเมืองปกครอง ตามตำนานกล่าวว่า มีตายายสองสามีภรรยา ออกไปหาปลาพบไข่จระเข้ที่สระน้ำแห่งหนึ่ง จึงเก็บมาฟักเป็นตัวแล้วเลี้ยงไว้ในอ่างน้ำ เพราะยายอยากเลี้ยงไว้แทนลูก ต่อมาจระเข้ตัวใหญ่ขึ้นจึงนำไปเลี้ยงไว้ในสระใกล้บ้านหาปลามาให้เป็นประจำ ต่อมาตายายหาปลามาให้เป็นอาหารไม่พออิ่ม จระเข้ตัวนั้นจึงกินตายายเป็นอาหาร เมื่อขาดคนเลี้ยงดูให้อาหาร จระเข้ใหญ่จึงออกจากสระไปอาศัยอยู่ในแม่น้ำน่านเก่าซึ่งอยู่ห่างจากสระตายายประมาณ 500 เมตร

แม่น้ำน่านเก่าในสมัยนั้นยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ปลานานาชนิดและมีน้ำบริบูรณ์ตลอดปี ขณะนั้นไหลผ่านบ้านวังกระดี่ทอง บ้านดงเศรษฐี ล่องไปทางใต้ ไหลผ่านบ้านดงชะพลู บ้านคะเชนทร์ บ้านเมืองพิจิตรเก่า บ้านท่าข่อย จนถึงบ้านบางคลาน จระเข้ใหญ่ก็เที่ยวออกอาละวาดอยู่ในแม่น้ำตั้งแต่ย่านเหนือเขตวังกระดี่ทอง ดงชะพลู จนถึงเมืองเก่า แต่ด้วยจระเข้ใหญ่ของตายายได้เคยลิ้มเนื้อมนุษย์แล้ว จึงเที่ยวอาละวาดกัดกินคนทั้งบนบกและในน้ำไม่มีเว้นแต่ละวัน จึงถูกขนานนามว่า "ไอ้ตาละวัน" ตามสำเนียงภาษาพูดของชาวบ้านที่เรียกตามความดุร้ายที่มันทำร้ายคน ไม่เว้นแต่ละวัน ต่อมาก็เรียกเพี้ยนเสียงเป็น "ไอ้ชาละวัน" และเขียนเป็น "ชาลวัน" ตามเนื้อเรื่องในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

ชื่อของชาละวันแพร่สะพัดไปทั่วเพราะเจ้าชาละวันไปคาบเอาบุตรสาวคนหนึ่งของเศรษฐีเมืองพิจิตรขณะกำลังอาบน้ำอยู่ที่แพท่าน้ำาหน้าบ้าน เศรษฐีจึงประกาศให้สินบนหลายสิบชั่ง พร้อมทั้งยกลูกสาวที่มีอยู่อีกคนหนึ่งให้แก่ผู้ที่ฆ่าชาละวันได้ ไกรทอง พ่อค้าจากเมืองล่าง สันนิษฐานว่าจากเมืองนนทบุรี รับอาสาปราบจระเข้ใหญ่ด้วยหอกลงอาคมหมอจระเข้ ถ้ำชาละวันสันนิษฐานว่าอยู่กลางแม่น้ำน่านเก่า ปัจจุบันอยู่ห่างจากที่พักสงฆ์ถ้ำชาละวัน บ้านวังกระดี่ทอง ตำบลย่านยาว ไปทางใต้ประมาณ 300 เมตร ทางลงปากถ้ำเป็นโพรงลึกเป็นรูปวงกลมมีขนาดพอดี จระเข้ขนาดใหญ่มากเข้าได้อย่างสบาย คนรุ่นเก่าได้เล่าถึงความใหญ่โตของชาละวันว่า เวลามันอวดศักดาลอยตัวปริ่มน้ำขวางคลอง ลำตัวของมันจะยาวคับคลอง คือหัวอยู่ฝั่งนี้ หางอยู่ฝั่งโน้น เรื่องชาละวันเป็นเรื่องที่เลื่องลือมาก จนพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครนอกเรื่อง "ไกรทอง" และให้นามจระเข้ใหญ่ว่า "พญาชาลวัน"

[แก้] เรื่องเล่านายไกรทอง ชาวเมืองนนทบุรีส่วนนายไกรทองหมอปราบจระเข้ สันนิฐานตามหลักฐานว่า เป็นบุคคลที่มากจากเมืองนนทบุรี ประกอบอาชีพค้าขายทางน้ำ และเคยรับอาสาปราบจระเข้ยักษ์ที่คร่าคนในพิจิตร และภายหลังชาวเมืองนนทบุรีได้ทราบข่าวการสร้างวีรกรรมปราบจระเข้ที่เมืองพิจิตร และได้สร้างศาสนสถานขึ้นคือ วัดบางไกรใน เพื่อเป็นเกียรติแก่ความหาญกล้าของไกรทอง

ชาละวัน

กาลครั้งหนึ่ง มีถ้ำทองเป็นที่อยู่ของจระเข้ ในถ้ำมีลูกแก้ววิเศษที่ส่องแสงดุจเวลากลางวัน จระเข้ทุกตัวที่เข้ามาในถ้ำจะกลายเป็นมนุษย์ มีท้าวรำไพ เป็นจระเข้เฒ่าผู้ทรงศีล ไม่กินเนื้อมนุษย์และสัตว์ มีบุตรชื่อ ท้าวโคจร และท้าวโคจรมีบุตรชื่อ ชาละวัน วันหนึ่ง ท้าวโคจร เกิดทะเลาะวิวาทกับท้าวพันตาและพญาพันวัง จระเข้ทั้งสามต่อสู้เพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ สุดท้ายทั้งสามก็จบชีวิตลงจากบาดแผลที่เกิดจากการสู้รบกัน
หลังจากนั้น พญาชาละวัน บุตรของท้าวโคจร ก็ได้ขึ้นเป็นผู้ปกครองถ้ำบาดาลโดยไม่ไม่ใครกล้าท้าทายอำนาจ และได้จระเข้สาวสองตัวเป็นเมียคือ วิมาลา กับ เลื่อมลายวรรณ ด้วยความลุ่มหลงในอำนาจ ชาละวันจึงมีนิสัยดุร้าย และต้องการกินเนื้อมนุษย์ และไม่รักษาศีลเหมือนท้าวรำไพผู้เป็นปู่แต่อย่างใด เพราะถือว่าตนเป็นผู้ปกครองถ้ำ มีอำนาจอยากจะทำอะไรก็ได้


ณ เมืองพิจิตร มีพี่น้องคู่หนึ่ง ชื่อนางตะเภาแก้ว ผู้พี่ และนางตะเภาทอง ผู้น้อง ทั้งสองเป็นบุตรเศรษฐี วันหนึ่งทั้ง 2 ลงไปเล่นน้ำในคลองที่ท่าน้ำหน้าบ้าน กับบ่าวไพร่ด้วยความสนุกสนานอีกหลายคน ในเวลานั้นเจ้าชาละวัน ซึ่งกลายร่างเป็นจระเข้ยักษ์นิสัยอันธพาล ได้ออกจากถ้ำอาละวาดล่าหามนุษย์เป็นเหยื่อ สร้างความวุ่นวายไปทั่วเมือง และได้ว่ายน้ำผ่านมาเห็นตะเภาทองที่แม่น้ำหน้าท่านเศรษฐี ก็เกิดความลุ่มหลงทันทีจึงคาบนางแล้วดำดิ่งไปยังถ้ำทองด้วยความเหิมลำพอง
เมื่อนางตะเภาทองฟื้นขึ้นมา ก็ตกตะลึกในความสวยของถ้ำ และได้เห็นพญาชาละวัน ซึ่งกลายร่างเป็นชายรูปงาม เจ้าชาละวันก็เกี้ยวพาราสีแต่นางไม่สนใจ ชาละวันจึงใช้เวทมนตร์สะกดให้นางหลงรักและยอมเป็นภรรยา เมียของชาละวันคือ วิมาลา และเลื่อมลายวรรณ เห็นก็ไม่พอใจและหึงหวงแต่ก็ห้ามสามีไม่ได้
ท่านเศรษฐีเสียใจมาก จึงประกาศไปว่าใครที่พบศพนางตะเภาทอง และสามารถปราบจระเข้ตัวนี้ได้จะมอบสมบัติของตนเองให้ครึ่งหนึ่ง และจะให้แต่งงานกับนางตะเภาแก้ว..และแล้วก็ได้ ไกรทอง หนุ่มรูปหล่อจากเมืองนนทบุรี ซึ่งได้ร่ำเรียนวิชาการปราบจระเข้จากอาจารย์คง จนมีความเก่งกล้า ฤทธิ์อาคมแกร่ง ได้รับอาสามาปราบเจ้าชาละวัน ..
ก่อนพบเจอเหตุร้าย เจ้าชาละวันได้นอนฝันว่า มีไฟลุกไหม้และน้ำท่วมทะลักเข้าถ้ำ เกิดแผ่นดินไหวแปรปรวน ทันดใดนั้น! ปรากฏร่างเทวดาฝันคอชาละวันขาดกระเด็น จึงได้นำความฝันไปบอกกล่าวกับปู่ท้าวรำไพ เพราะเหตุการณ์ในความฝันเป็นลางร้าย เจ้าชาละวันต้องจำศีลในถ้ำ 7 วัน ถ้าออกไปนอกถ้ำจะพบภัยพิบัติถึงชีวิต วิมาลาจึงรับสั่งให้บริวารจระเข้คาบก้อนหินมาปิดปากถ้ำเอาไว้ เพื่อไม่ให้มนุษย์เข้ามาในถ้ำได้

..รุ่งเช้าไกรทองเริ่มตั้งพิธีบวงสรวงพร้อมท่องคาถา ทำให้เจ้าชาละวันเกิดอาการร้อนลุ่ม วิมาลาได้แต่คอยปลอบใจให้ชาละวันอดทนเข้าไว้ แต่สุดท้ายชาละวันก็ต้องออกจากถ้ำ แปลงกายเป็นจระเข้ขึ้นมาบนผิวน้ำเพื่อต่อสู้กับไกรทอง การต่อสู้ของคนกับจระเข้จึงเริ่มขึ้นไกรทองกระโดดขึ้นบนหลังจระเข้ชาละวันอย่างรวดเร็วและแทงด้วยหอกสัตตโลหะ ทำให้อาคมของเขี้ยวเพชรเสื่อม หอกอาคมได้ทิ่มแทงชาละวันจนบาดเจ็บสาหัส และมันได้รีบหนีกลับไปที่ถ้ำทองทันที
แต่ไกรทองก็ใช้เทียนระเบิดน้ำเปิดทางน้ำ ตามลงไปที่ถ้ำทันที วิมาลาและเลื่อมลายวรรณต้องการของร้องให้ปู่ท้าวรำไพช่วย แต่ท้าวรำไพก็ไม่สามารถช่วยได้ เมื่อมาถึงถ้ำไกรทองได้พบกับ วิมาลา ด้วยความเจ้าชู้จึงเกี้ยวพาราสีจนนางใจอ่อนยอมเป็นชู้ จนนางตกใจวิ่งหนีเข้าถ้ำ ไกรทองจึงตามนางไป ส่วนชาละวันที่นอนบาดเจ็บอยู่ก็รีบออกมาจากที่ซ่อนตัวและได้ต่อสู้กับไกรทองต่อในถ้ำ จนเจ้าชาละวันสู้ไม่ไหวในที่สุดก็พลาดเสียท่าถูกแทงจนสิ้นใจตายตรงนั้น(บางสำนวนก็บอกว่า เจ้าชาละวันถูกหอกอาคมของไกรทองแทงกลางหลัง แล้วร่างก็เปลี่ยนเป็นจระเข้ยักษ์นอนตายอยู่กลางถ้ำทอง) และไกรทองก็ได้พานางตะเภาทองกลับขึ้นมา เศรษฐีดีใจมากที่ลูกสาวยังไม่ตาย จึงจัดงานแต่งงานให้ไกรทองกับนางตะเภาแก้ว พร้อมมอบสมบัติให้ครึ่งหนึ่ง แถมนางตะเภาทองให้อีกคน


ใจของไกรทองกลับนึกถึงนางวิมาลา จึงไปหาอยู่กินด้วย โดยทำพิธีทำให้นางยังคงเป็นมนุษย์แม้ออกนอกถ้ำทอง นางตะเภาแก้วและนางตะเภาทอง จับได้ว่า สามีไปมาหาสู่ นางจระเข้จึงไปหาเรื่องกับนางในร่างมนุษย์จนนางวิมาลาทนไม่ไหวกลับ ร่างเป็นจระเข้และไกรทองต้องออกไปห้ามไม่ให้เมียตีกันและอำลาจากนางวิมาลาด้วยใจอาวรณ์ สุดท้ายไกรทองก็ปรับความเข้าใจได้กับทั้งสองฝ่าย ทั้งมนุษย์และจระเข้อยู่อย่างสันติ

[แก้] ตำนานจระเข้ชาละวันชาละวัน เป็นจระเข้ใหญ่เลื่องชื่อแห่งแม่น้ำน่านเก่าเมืองพิจิตร สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นในสมัยที่พิจิตรมีเจ้าเมืองปกครอง ตามตำนานกล่าวว่า มีตายายสองสามีภรรยา ออกไปหาปลาพบไข่จระเข้ที่สระน้ำแห่งหนึ่ง จึงเก็บมาฟักเป็นตัวแล้วเลี้ยงไว้ในอ่างน้ำ เพราะยายอยากเลี้ยงไว้แทนลูก ต่อมาจระเข้ตัวใหญ่ขึ้นจึงนำไปเลี้ยงไว้ในสระใกล้บ้านหาปลามาให้เป็นประจำ ต่อมาตายายหาปลามาให้เป็นอาหารไม่พออิ่ม จระเข้ตัวนั้นจึงกินตายายเป็นอาหาร เมื่อขาดคนเลี้ยงดูให้อาหาร จระเข้ใหญ่จึงออกจากสระไปอาศัยอยู่ในแม่น้ำน่านเก่าซึ่งอยู่ห่างจากสระตายายประมาณ 500 เมตร

แม่น้ำน่านเก่าในสมัยนั้นยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ปลานานาชนิดและมีน้ำบริบูรณ์ตลอดปี ขณะนั้นไหลผ่านบ้านวังกระดี่ทอง บ้านดงเศรษฐี ล่องไปทางใต้ ไหลผ่านบ้านดงชะพลู บ้านคะเชนทร์ บ้านเมืองพิจิตรเก่า บ้านท่าข่อย จนถึงบ้านบางคลาน จระเข้ใหญ่ก็เที่ยวออกอาละวาดอยู่ในแม่น้ำตั้งแต่ย่านเหนือเขตวังกระดี่ทอง ดงชะพลู จนถึงเมืองเก่า แต่ด้วยจระเข้ใหญ่ของตายายได้เคยลิ้มเนื้อมนุษย์แล้ว จึงเที่ยวอาละวาดกัดกินคนทั้งบนบกและในน้ำไม่มีเว้นแต่ละวัน จึงถูกขนานนามว่า "ไอ้ตาละวัน" ตามสำเนียงภาษาพูดของชาวบ้านที่เรียกตามความดุร้ายที่มันทำร้ายคน ไม่เว้นแต่ละวัน ต่อมาก็เรียกเพี้ยนเสียงเป็น "ไอ้ชาละวัน" และเขียนเป็น "ชาลวัน" ตามเนื้อเรื่องในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

ชื่อของชาละวันแพร่สะพัดไปทั่วเพราะเจ้าชาละวันไปคาบเอาบุตรสาวคนหนึ่งของเศรษฐีเมืองพิจิตรขณะกำลังอาบน้ำอยู่ที่แพท่าน้ำาหน้าบ้าน เศรษฐีจึงประกาศให้สินบนหลายสิบชั่ง พร้อมทั้งยกลูกสาวที่มีอยู่อีกคนหนึ่งให้แก่ผู้ที่ฆ่าชาละวันได้ ไกรทอง พ่อค้าจากเมืองล่าง สันนิษฐานว่าจากเมืองนนทบุรี รับอาสาปราบจระเข้ใหญ่ด้วยหอกลงอาคมหมอจระเข้ ถ้ำชาละวันสันนิษฐานว่าอยู่กลางแม่น้ำน่านเก่า ปัจจุบันอยู่ห่างจากที่พักสงฆ์ถ้ำชาละวัน บ้านวังกระดี่ทอง ตำบลย่านยาว ไปทางใต้ประมาณ 300 เมตร ทางลงปากถ้ำเป็นโพรงลึกเป็นรูปวงกลมมีขนาดพอดี จระเข้ขนาดใหญ่มากเข้าได้อย่างสบาย คนรุ่นเก่าได้เล่าถึงความใหญ่โตของชาละวันว่า เวลามันอวดศักดาลอยตัวปริ่มน้ำขวางคลอง ลำตัวของมันจะยาวคับคลอง คือหัวอยู่ฝั่งนี้ หางอยู่ฝั่งโน้น เรื่องชาละวันเป็นเรื่องที่เลื่องลือมาก จนพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครนอกเรื่อง "ไกรทอง" และให้นามจระเข้ใหญ่ว่า "พญาชาลวัน"

[แก้] เรื่องเล่านายไกรทอง ชาวเมืองนนทบุรีส่วนนายไกรทองหมอปราบจระเข้ สันนิฐานตามหลักฐานว่า เป็นบุคคลที่มากจากเมืองนนทบุรี ประกอบอาชีพค้าขายทางน้ำ และเคยรับอาสาปราบจระเข้ยักษ์ที่คร่าคนในพิจิตร และภายหลังชาวเมืองนนทบุรีได้ทราบข่าวการสร้างวีรกรรมปราบจระเข้ที่เมืองพิจิตร และได้สร้างศาสนสถานขึ้นคือ วัดบางไกรใน เพื่อเป็นเกียรติแก่ความหาญกล้าของไกรทอง

แบตมินตัน

แบดมินตัน เป็นกีฬาชนิดหนึ่ง ที่ใช้ไม้ตีลูก ลูกสำหรับใช้ตีนั้น เรียกกันมาช้านานว่า "ลูกขนไก่" เพราะสมัยก่อนกีฬานี้ใช้ขนของไก่มาติดกับลูกบอลทรงกลมขนาดเล็ก ปัจจุบันลูกขนไก่ผลิดจากขนเป็ดที่คัดแล้ว ลูกบอลทรงกลมขนาดเล็กที่ทำเป็นหัวลูกขนไก่ทำด้วยไม้คอร์ก ราคาลูกขนไก่ที่ใช้ในการแข่งขันจะอยู่ที่ประมาณลูกละ40-50บาท

กีฬาแบดมินตันจะแบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่าย และแบ่งการเล่นออกเป็น 2 ประเภท คือ "ประเภทเดี่ยว" แบ่งผู้เล่นออกเป็นฝ่ายละ 1 คน และ "ประเภทคู่" แบ่งผู้เล่นออกเป็นฝ่ายละ 2 คน การเล่นรอบหนึ่งเรียกว่า 1 แมทช์ แมทช์ละ 3 เกม(บางคนเรียกเซ็ท) ตัดสินแพ้ชนะ2ใน3เกม มีกำหนดคะแนนสูงสุด 21 คะแนน ฝ่ายใดทำคะแนนได้ถึง 21 คะแนนก่อนจะเป็นผู้ชนะในเกมนั้น

ประวัติ กีฬาแบดมินตันมีความเป็นมาไม่ชัดเจนนัก ซึ่งจากหลักฐานต่างๆ จะสามารถบ่งบอกที่มาของกีฬาประเภทนี้ไว้ที่หลายยุค เช่น

ในจีนช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7 มีภาพวาดเก่าๆ ซึ่งบ่งบอกว่ามีการใช้ขนไก่มาทำเป็นลูกขนไก่ใช้ในการเล่น ซึ่งตอนนั้นจะใช้เท้าเตะกัน 2 คนหรือจะตั้งวงกัน 3-4 คน คริสต์ศตวรรษที่ 13 ชาวอินเดียแดงในอเมริกาตอนใต้ ใช้ขนนกหรือขนไก่พูกติดกับลูกกลมโดยลูกบอลกลมนั้นใช้หญ้าฟางพันขมวดเข้าด้วยกัน และให้ขนไก่ชี้ไปทางเดียวกันและเวลาเล่นใช้มือจับลูกขนไก่นั้นปาใส่ผู้เล่นคนอื่นๆให้ช่วยกันจับ ตลอดช่วงเวลาที่กล่าวมานี้ ยังไม่มีการใช้แร็กเกต หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ตีปะทะลูกขนไก่ แต่ใช้มือ หรืออวัยวะอื่น ๆ แทน คริสต์ศตวรรษที่ 14 ชาวญี่ปุ่นได้มีการใช้ขนไก่ หรือขนนกเสียบผูกติดกับหัวไม้ และใช้ไม้ตีลูกขนไก่นั้น โดยไม้ที่ใช้ตีทำมาจากไม้กระดาน ตีลูกขนไก่ไปมานับว่าเป็นวิวัฒนาการในรูปลักษณ์ของการเล่นแบดมินตันที่ใกล้เคียงกับยุคปัจจุบันมากที่สุด โดยมีการใช้แร็กเกตตีลูกขนไก่แทนการใช้อวัยวะของร่างกาย ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในแถบยุโรปมีการเขียนภาพสีน้ำมันถึงการเล่นกีฬาแบดมินตันในราชสำนักต่าง ๆ พระราชินีคริสตินาแห่งสวีเดนทรงจำลองไม้แบดมินตันมาจากแร็กเกตในกีฬาเทนนิส และใช้ขนไก่หรือขนนกเสียบติดกับหัวไม้ก๊อก เจ้าฟ้าชายเฟรดเดอริค มกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์ก ทรงแบดมินตันในลักษณะเดียวกัน แต่ในตอนนั้นเรียกแบดมินตันว่า "แบทเทิลดอร์กับลูกขนไก่" คริสต์ศตวรรษที่ 18 ในเยอรมนีกษัตริย์ของปรัสเซียเฟรดเดอริคมหาราช และพระเจ้าหลานเธอเฟรดเดอริค วิลเลียมที่สอง ทรงแบดมินตันในลักษณะเดียวกัน และในประเทศอังกฤษมีเรื่องเล่าว่าในปี ค.ศ. 1870 นายทหารคนหนึ่งที่ไปประจำการอยู่ในเมืองปูนา ประเทศอินเดียได้เห็นกีฬาตีลูกขนไก่จึงนำกลับไปเล่นในอังกฤษ และในอังกฤษ ณ คฤหาสน์ “แบดมินตัน” ของดยุคแห่งบิวฟอร์ด ที่ตำบลกล๊อสเตอร์เชอร์ ในปี ค.ศ. 1873 เกมกีฬาตีลูกขนไก่จึงถูกเรียกว่า “แบดมินตัน” ตามชื่อของสถานที่นับตั้งแต่นั้นมา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นการใช้ลูกพลาสติก